เมนู

ลักษณะขุ่นเคือง โดยประการทั้งปวง ด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า
อภินิพฺพุตตฺโต ความว่า บุคคลใดมีจิตเย็นสนิท คือเยือกเย็น ด้วยการ
ดับสนิทซึ่งกิเลสโดยประการทั้งปวง เพราะถอนมายา มานะ โลภะ และ
โกธะได้ และเพราะละธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาด โดย
ความที่สังกิเลสเหล่านั้นตั้งอยู่ในฐานเดียวกับมายาเป็นต้นนั้น. บทว่า
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ ความว่า บุคคลนั้น คือผู้เห็นปาน
นั้น เป็นพระขีณาสพ ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปโดยประการ
ทั้งปวง, ผู้นั้นแหละชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป และเป็นผู้ประพฤติ
สม่ำเสมอ, และผู้นั้นแหละชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสโดยประการ
ทั้งปวง. ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะผู้เป็นอย่างนั้นนั่นแหละพึงเป็นผู้มุ่งร้ายทำ
กายกรรมเป็นต้นไร ๆ ให้เป็นไปอย่างไร ก็เธอย่อมร้องเรียกด้วยวาทะว่า
คนถ่อย เพราะยังละวาสนาไม่ได้อย่างเดียวแล.
จบอรรถกถาปิลินทวัจฉสูตรที่ 6

7. มหากัสสปสูตร



ว่าด้วยท้ายสักกะปลอมตัวถวายบิณฑบาต



[79] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป
นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ โดยบัลลังก์เดียว ที่ถ้ำปิปผลิคูหา สิ้น 7
วัน ครั้นพอล่วง 7 วันนั้นไป ท่านพระมหากัสสปก็ออกจากสมาธินั้น

เมื่อท่านพระมหากัสสปออกจากสมาธินั้น ได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร เรา
พึงเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์เถิด ก็สมัยนั้นแล เทวดาประมาณ
500 ถึงความขวนขวาย เพื่อจะให้ท่านพระมหากัสสปได้บิณฑบาต ครั้ง
นั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปห้ามเทวดาประมาณ 500 เหล่านั้น
แล้วนุ่งผ้าอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร-
ราชคฤห์.
[80] ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงประสงค์จะถวาย
บิณฑบาตแก่ท่านพระมหากัสสป จึงทรงนิรมิตเพศเป็นนายช่างหูกทอหูก
อยู่ นางอสุรกัญญาชื่อว่าสุชาดากรอด้ายหลอดอยู่ ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
มหากัสสปเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ตามลำดับตรอก เข้าไป
ถึงนิเวศน์ของท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงเห็นท่านพระ-
มหากัสสปมาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จออกจากเรือนทรงต้อนรับ ทรงรับ
บาตรจากมือ เสด็จเข้าไปสู่เรือน ทรงคดข้าวออกจากหม้อใส่เต็มบาตร
แล้วทรงถวายแด่ท่านพระมหากัสสป บิณฑบาตนั้นมีสูปะและพยัญชนะ
เป็นอันมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปคิดว่า สัตว์นี้เป็นใครหนอแล
มีอิทธานุภาพเห็นปานนี้ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมีความคิดว่า
ท้าวสักกะจอมเทพหรือหนอแล ท่านพระมหากัสสปทราบดังนี้แล้ว ได้
กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์ มหาบพิตรทำกรรมนี้แล้ว
แล มหาบพิตรอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนี้แม้อีก ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า
ข้าแต่ท่านพระมหากัสสปผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้าก็ต้องการบุญ แม้ข้าพเจ้าก็พึง
ทำบุญ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพทรงอภิวาทท่านพระมหากัสสป
ทรงทำประทักษิณแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส เปล่งอุทาน 3 ครั้งในอากาศว่า

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป.

[81] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับอุทานของท้าวสักกะจอมเทพ
เสด็จเหาะขึ้นไปสู่เวหาสแล้ว ทรงเปล่งอุทานในอากาศ 3 ครั้งว่า
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป.

ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ลำดับนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ซึ่งภิกษุ
ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่เลี้ยง
คนอื่น ผู้คงที่ สงบแล้ว มีสติทุกเมื่อ.

จบมหากัสสปสูตรที่ 7

อรรถกถามหากัสสปสูตร



มหากัสสปสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า สตฺตาหํ เอกปลฺลงฺเกน นิสินฺโน อญฺญตรํ สมาธึ สมา-
ปชฺชิตฺวา
นี้ อันดับแรก เกจิอาจารย์กล่าวไว้ว่า สมาธิอันสัมปยุตด้วย
อรหัตผล ท่านประสงค์เอาว่า สมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสูตรนี้. ก็ท่าน
มหากัสสปนั้นเข้าสมาธินั้นมาก เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และสามารถ