เมนู

ความหวัง ผู้ละความโกรธได้แล้ว มีจิตเย็นแล้ว
ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นสมณะ
ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ.
จบปิลินทวัจฉสูตรที่ 6

อรรถกถาปิลินทวัจฉสูตร



ปิลินทวัจฉสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปิลินฺทวจฺโฉ ความว่า บทว่า ปิลินทะ เป็นชื่อของพระ-
เถระ ชนทั้งหลายจำพระเถระได้ โดยโคตรว่า วัจฉะ. บทว่า วสลวาเทน
สมุทาจรติ
ความว่า พระเถระย่อมกล่าว ย่อมเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะ
ว่าคนถ่อย โดยนัยมีอาทิว่า มาเถอะ คนถ่อย หลีกไปเถอะ คนถ่อย.
บทว่า สมฺพหุลา ภิกฺขู แปลว่า ภิกษุเป็นอันมาก. ภิกษุเหล่านั้นเห็น
พระเถระร้องเรียกเช่นนั้น เมื่อไม่รู้ว่า พระเถระเป็นพระอรหันต์ กล่าว
อย่างนั้นเพราะยังละวาสนาไม่ได้ จึงคิดว่า พระเถระนี้เห็นจะเป็นผู้มุ่งร้าย
จึงร้องเรียกอย่างนี้ มีประสงค์จะพูดอวด จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เพื่อจะให้ออกจากความเป็นผู้มุ่งร้ายนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านปิลินทวัจฉะ เรียกภิกษุทั้งหลายด้วย
วาทะว่าคนถ่อย.
ส่วนเกจิอาจารย์กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายจำพระเถระนี้ได้ว่า เป็น
พระอรหันต์ คิดว่า ก็พระเถระนี้เรียกภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ ด้วยคำหยาบ
อุตริมนุสธรรมในพระเถระนี้ เห็นจะไม่มีจริงกระมัง ดังนี้ ไม่รู้การ

เรียกอย่างนั้นของท่านด้วยอำนาจวาสนา และไม่เชื่อว่าท่านเป็นพระอริยะ
จึงสำคัญในการเพ่งโทษ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทรงประกาศว่า พระเถระไม่มีความมุ่งร้าย
จึงรับสั่งให้ภิกษุรูปหนึ่งเรียกเธอมาแล้ว ตรัสแก่เธอต่อหน้าว่า ภิกษุนี้
เรียกอย่างนั้น ด้วยเหตุที่เคยชินมาในกาลก่อน หาได้ประสงค์ในการ
กล่าวคำหยาบไม่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ได้ตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมา ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ มนสิกริตฺวา ความว่า
พระศาสดาตรัสถามพระเถระว่า วัจฉะ ได้ยินว่า เธอเรียกภิกษุทั้งหลายด้วย
วาทะว่าคนถ่อย จริงหรือ เมื่อพระเถระกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า
เมื่อทรงรำพึงว่า วัจฉะนี้ ไม่สละวาทะว่าคนถ่อย เพราะวาสนาอันเศร้า-
หมอง แม้ในอัตภาพอันเป็นอดีต เธอก็ได้เกิดในชาติพราหมณ์ หรือหนอ
จึงทรงมนสิการถึงขันธสันดานที่เธอเคยอยู่ในอดีตชาติ อันเป็นที่อยู่แห่ง
ขันธ์ในปางก่อนของเธอ ด้วยบุพเพนิวาสญาณ และสัพพัญญุตญาณ คือ
กระทำไว้ในพระทัยของพระองค์ โดยกระทำให้ประจักษ์ เหมือนผล
มะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า ตรัส
เรียก เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มา
โข ตุมฺเห ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า มา เป็นนิบาตใช้ในอรรถปฏิเสธ.
มา ศัพท์นั้นเชื่อมกับบทท่า อุชฺฌายิตฺถ นี้. บทว่า มา อุชฺฌายิตฺถ
ความว่า พวกเธออย่าคิด คือมองดูไปทางต่ำ. ก็บทว่า วจฺฉสฺส ภิกฺขุโน
เป็นจตุตถีวิภัตติ เพราะการเพ่งโทษเป็นการริษยา.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุในความที่เธอไม่ควรจะเพ่งโทษ จึง
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะหาได้มุ่งร้ายเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะ
ว่าคนถ่อยไม่. พระดำรัสนั้นมีใจความดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะนี้
หามุ่งร้าย มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตถูกโทสะ พยาบาทประทุษร้าย เรียก
ภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อยไม่ เธอถอนพยาบาทได้ด้วยมรรค
นั่นเอง. เมื่อจะทรงแสดงเหตุอันสำเร็จมาแต่ชาติก่อนแห่งการเรียกเช่นนั้น
ของเธอ แม้ในเมื่อเธอไม่มีความมุ่งร้ายด้วยประการอย่างนี้ จึงตรัสว่า
วจฺฉสฺส ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพฺโพกิณฺณา ได้แก่ ไม่เจือปน คือ
ไม่มีลำดับขั้นโดยลำดับแห่งชาติ มีขัตติยชาติเป็นต้น. บทว่า ปญฺจ
สตานิ พฺราหฺมณกุเล ปจฺจาชาตานิ
ความว่า วัจฉะได้เกิดเฉพาะใน
สกุลพราหมณ์ตามลำดับชาติทั้งหมด ถึง 500 ชาติ. บทว่า โส ตสฺส
วสลวาโท ทีฆรตฺตํ สมุทาจิณฺโณ
ความว่า วาทะคนถ่อยของวัจฉภิกษุ
นั้น ซึ่งเธอแม้เป็นพระขีณาสพก็ยังประพฤติอยู่ในบัดนี้ เป็นวาทะที่เธอ
สั่งสมประพฤติมาตลอดกาลนาน เพราะเธอเกิดเป็นชาติพราหมณ์เป็น
เวลาประมาณ 500 ชาติ โดยกขึ้นเบื้องสูงนับแต่ชาตินี้ไป. จริงอยู่
พราหมณ์ทั้งหลายเป็นผู้กระด้างด้วยมานะที่สำเร็จมาแต่ชาติ จึงร้องเรียก
ผู้อื่นด้วยวาทะว่าคนถ่อย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อชฺฌาจิณฺโณ ดังนี้
ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า เตน ความว่า ด้วยภาวะที่เธอ
เคยประพฤติมาเช่นนั้นตลอดกาลนาน. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงว่า เป็นเหตุ
คือเป็นวาสนาของการร้องเรียกเช่นนั้นของเธอ. ก็ชื่อว่าวาสนานี้ คือ
อะไร ? อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คืออธิมุตติ ปานประหนึ่งสักว่าความ

สามารถ อันกิเลสที่เธออบรมมาตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ ติดอยู่ อันเป็น
เหตุแห่งความประพฤติ เหมือนความประพฤติของคนผู้ยังละกิเลสไม่ได้
ในสันดาน แม้ของท่านผู้เว้นจากกิเลสได้แล้ว. ก็ว่าด้วยการละกิเลส
เครื่องกางกั้นไญยธรรมด้วยความสมบูรณ์แห่งอภินิหาร เหตุแห่งความ
ประพฤตินี้นั้น ไม่มีในสันดานของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ละกิเลสได้แล้ว
แต่ยังมีในสันดานของพระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ยังละกิเลส
อย่างนั้นไม่ได้ เพราะพระตถาคตเท่านั้นทรงเห็นอนาวรณญาณ.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ กล่าวคือ
ความไม่มีการมุ่งร้าย ในเมื่อท่านปิลินทวัจฉะ แม้จะเรียกผู้อื่นว่าคนถ่อย.
บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันประกาศการบรรลุพระ-
อรหัตผลของเธอ.
บทว่า ยมฺหิ น วสติ น มาโน ความว่า มายามีลักษณะปกปิดโทษ
ที่มีอยู่ และมานะมีลักษณะพองขึ้นอันเป็นไปด้วยการยกย่อง โดยนัยมี
อาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ ย่อมไม่อยู่ในพระอริยบุคคลใด คือ
ไม่เป็นไป ไม่เกิดขึ้น เพราะท่านถอนได้แล้วด้วยมรรคจิต. บทวา โย
วีตโลโภ อมโม นิราโส
ความว่า ก็บุคคลใด ชื่อว่าปราศจากโลภะ
เพราะปราศจากโลภะ อันมีลักษณะยึดอารมณ์โดยประการทั้งปวง อัน
เป็นไปโดยปริยายแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ชื่อว่าไม่ยึดว่าเป็นของเรา คือ
ไม่หวงแหน เพราะไม่มีการยึดถือในอารมณ์ มีรูปเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่งว่าเป็นของเรานั่นแหละ ชื่อว่าหมดความหวัง เพราะไม่หวังภพ
เป็นต้น แม้ที่เป็นอนาคต. บทว่า ปนุณฺณโกโธ ความว่า ชื่อว่ากำจัด
ความโกรธได้แล้ว คือถอนอาฆาตได้แล้ว เพราะละความโกรธซึ่งมี

ลักษณะขุ่นเคือง โดยประการทั้งปวง ด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า
อภินิพฺพุตตฺโต ความว่า บุคคลใดมีจิตเย็นสนิท คือเยือกเย็น ด้วยการ
ดับสนิทซึ่งกิเลสโดยประการทั้งปวง เพราะถอนมายา มานะ โลภะ และ
โกธะได้ และเพราะละธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาด โดย
ความที่สังกิเลสเหล่านั้นตั้งอยู่ในฐานเดียวกับมายาเป็นต้นนั้น. บทว่า
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ ความว่า บุคคลนั้น คือผู้เห็นปาน
นั้น เป็นพระขีณาสพ ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปโดยประการ
ทั้งปวง, ผู้นั้นแหละชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป และเป็นผู้ประพฤติ
สม่ำเสมอ, และผู้นั้นแหละชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสโดยประการ
ทั้งปวง. ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะผู้เป็นอย่างนั้นนั่นแหละพึงเป็นผู้มุ่งร้ายทำ
กายกรรมเป็นต้นไร ๆ ให้เป็นไปอย่างไร ก็เธอย่อมร้องเรียกด้วยวาทะว่า
คนถ่อย เพราะยังละวาสนาไม่ได้อย่างเดียวแล.
จบอรรถกถาปิลินทวัจฉสูตรที่ 6

7. มหากัสสปสูตร



ว่าด้วยท้ายสักกะปลอมตัวถวายบิณฑบาต



[79] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป
นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ โดยบัลลังก์เดียว ที่ถ้ำปิปผลิคูหา สิ้น 7
วัน ครั้นพอล่วง 7 วันนั้นไป ท่านพระมหากัสสปก็ออกจากสมาธินั้น