เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า สติ กายคตา อุปฏฺฐิตา นี้ ทรงแสดงถึง
ความที่พระเถระเป็นผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติ ด้วยการแสดงถึงการกำหนด
รู้ตามสภาวะแห่งกายของตนและของคนอื่น. ด้วยบทว่า ฉสุ ผสฺสายต-
เนสุ สํวุโต
นี้ ทรงแสดงถึงการที่พระเถระถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญา
อันประกาศถึงสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการอยู่ด้วยความสงบเป็นต้น
อันแสดงถึงความสำรวมอย่างแท้จริง ในทวาร 6 มีจักขุทวารเป็นต้น.
ด้วยบทว่า สตตํ ภิกฺขุ สมาหิโต นี้ ทรงแสดงอนุบุพพวิหารสมาบัติ 9
โดยแสดงถึงความเป็นผู้มากด้วยสมาบัติ. ก็ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ พึงรู้
นิพพานของตน
คือ พึงรู้ พึงคิดถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุของตน
อย่างเดียวเท่านั้น เพราะไม่มีกรณียกิจอันยิ่ง เพราะทำกิจเสร็จแล้ว
อธิบายว่า แม้กิจอื่นที่เธอจะพึงคิดก็ไม่มี.
จบอรรถกถาโกลิตสูตรที่ 5

6. ปิลินทวัจฉสูตร



ว่าด้วยวาทะว่าคนถ่อย



[78] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ
ย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วย
กัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่