เมนู

หวั่น ไม่ไหว ด้วยลมตามปกติ. บทว่า เอวํ โมหกฺขยา ภิกฺขุ ปุพฺพโตว
น เวธติ
ความว่า ภิกษุชื่อว่าละอกุศลทั้งปวงได้ เพราะละโมหะได้เด็ดขาด
และเพราะละอกุศลทั้งปวงมีโมหะเป็นมูล ย่อมไม่หวั่น คือไม่ไหวด้วยโลก-
ธรรม เหมือนภูเขานั้นไม่สะเทือนด้วยลมตามปกติ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะ
เหตุที่พระนิพพานและพระอรหัตท่านเรียกว่า โมหักขยะ ฉะนั้น ภิกษุนั้น
จึงชื่อว่าตั้งอยู่ด้วยดีแล้วในอริยสัจ 4 เพราะบรรลุพระนิพพานและพระ-
อรหัต เหตุสิ้นไปแห่งโมหะ แม้ในเวลาที่ไม่เข้าสมาบัติก็ไม่หวั่นไหวด้วย
อะไร ๆ เหมือนภูเขาดังกล่าวแล้ว. อธิบายว่า จะป่วยกล่าวไปไยในเวลา
เข้าสมาบัติเล่า.
จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ 4

5. โกลิตสูตร



ว่าด้วยกายคตาสติ


[77] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติอันตั้งไว้
แล้วในภายใน อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ทรงเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติ
อันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่ในที่ไม่ไกล.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า