เมนู

การชนะการด่า, ทรงแสดงความไม่มีกายทุจริต ด้วยธรรมนอกนี้. ด้วย
คำนั้น เป็นอันพระองค์ตรัสมรรคที่ 3 ด้วยการละพยาบาทอันมีการด่า
เป็นต้นนั้นเป็นนิมิตได้โดยเด็ดขาด. อีกอย่างหนึ่ง เป็นอันตรัสถึงมรรค
ที่ 3 ด้วยการตรัสถึงชัยชนะการด่าเป็นต้น, การข่มการด่าเป็นต้นได้เด็ด
ขาด เป็นอันทรงประกาศในมรรคที่ 3 นั้น. แม้ทั้ง 2 บท ก็ทรงแสดง
ถึงความที่ภิกษุเหล่านั้นไม่มีความยินร้าย. บทว่า ปพฺพโต วิย โส ฐิโต
อเนโช
ความว่า อันตราย คือกิเลสอันเป็นตัวหวั่นไหว ท่านเรียกว่า
เอชา, ชื่อว่าอเนชา เพราะไม่มีกิเลสที่เหลืออันเป็นเหตุให้หวั่นไหว ตั้ง
อยู่ คือเป็นเช่นกับภูเขาเป็นแท่งทึบ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยกิเลสทั้งปวง
และด้วยสมคือการว่าร้ายของผู้อื่น เหตุไม่มีความหวั่นไหวนั่นเอง. บทว่า
สุจทุกฺเขสุ น เวธติ ส ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุนั้น คือผุ้ทำลายกิเลสแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวอันมีสุขและทุกข์เป็นเหตุ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ
ความโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมถึงความเป็นผู้คงที่ ด้วยการบรรลุพระ-
อรหัตของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงเปล่งอุทานอันมีบุคคลเอกเป็นที่ตั้งด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาโสชสูตรที่ 3

4. สารีปุตตสูตร



ว่าด้วยพระสารีบุตรดุจภูเขา



[76] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เบื้องหน้า อยู่ใน
ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระสารี-
บุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เบื้องหน้า อยู่ในที่ไม่ไกล.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุผู้ดุจภูเขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความสิ้น
โมหะ เหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดีฉะนั้น.
จบสารีปุตตสูตรที่ 4

อรรถกถาสารีปุตตสูตร



สารีปุตตสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ความว่า ตั้งสติให้มุ่งตรงต่อ
อารมณ์ คือ ตั้งสติไว้ในที่ใกล้หน้า. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า สตินี้เป็นอันปรากฏแล้ว ปรากฏด้วยดีแล้ว ที่ปลาย
นาสิก หรือที่มุขนิมิต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐ-
เปตฺวา
ตั้งสติไว้ตรงหน้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริ มีอรรถว่า กำหนด.
บทว่า มุขํ มีอรรถว่า นำออก. บทว่า สติ มีอรรถว่า ปรากฏ. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปริมุขํ สตึ. ก็ในที่นี้ พึงทราบอรรถโดยนัย
ดังกล่าวแล้วในปฏิสัมภิทา ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนั้น มีความสังเขป