เมนู

ภิกษุใดชนะหนาม คือกาม ชนะการด่า การฆ่า
และการจองจำได้แล้ว ภิกษุนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหวดุจ
ภูเขา ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์.
จบยโสชสูตรที่ 3

อรรถกถายโสชสูตร



ยโสชสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยโสโช ในคำว่า ยโสปฺปมุขานิ นี้ เป็นชื่อของพระ-
เถระนั้น. ภิกษุ 500 รูปนั้น ท่านกล่าวว่ามียโสชภิกษุเป็นหัวหน้า เพราะ
บวชทำท่านยโสชะให้เป็นหัวหน้า และเพราะเที่ยวไปด้วยกัน. ภิกษุ
เหล่านั้นมีการประกอบบุญกรรมไว้ในปางก่อน ดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ศาสนาของพระกัสสปทศพล มีภิกษุ
อยู่ป่ารูปหนึ่ง อยู่ในกุฏิมุงด้วยใบไม้ สร้างไว้ที่ศิลาดาดในป่า. ก็สมัย
นั้นโจร 500 กระทำการปล้นชาวบ้านเป็นต้น เลี้ยงชีพแบบโจรกรรม
กระทำโจรกรรม ถูกพวกมนุษย์ในชนบทพากันติดตาม หนีเข้าป่าไป ไม่
เห็นอะไร ๆ ในที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นรกชัฏหรือที่พึ่งอาศัย เห็นภิกษุนั้น
นั่งอยู่บนแผ่นหินในที่ไม่ไกล จึงไหว้แล้วบอกเรื่องนั้น อ้อนวอนว่า ขอ
ท่านจงเป็นที่พึ่งแก่พวกกระผมเถิดขอรับ. พระเถระกล่าวว่าที่พึ่งอื่นเช่น
กับศีลของพวกท่านไม่มี จงสมาทานศีล 5 กันทั้งหมดเถิด. โจรเหล่านั้น
รับคำของท่านแล้ว สมาทานศีล. พระเถระกล่าวว่า ท่านตั้งอยู่ในศีล
แล้ว ท่านแม้ถึงชีวิตของตนจะพินาศไป ก็อย่าเกรี้ยวกราดด้วยการเบียด
เบียน ดังนี้แล้ว จึงบอกวิธีอุปมาด้วยเลื่อย. โจรเหล่านั้นรับว่า ดีละ.