เมนู

สิ้นโมหะ โดยธรรมสัมโมหะทั้งหมดอันมีทุกข์เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้สิ้นไป
คือบรรลุพระอรหัตผลและพระนิพพาน. บทว่า สุขทุกฺเขสุ น เวธติ ส
ภิกฺขุ
ความว่า ภิกษุผู้ทำลายกิเลสนั้น ย่อมไม่หวั่น ไม่ไหวในสุขที่เกิด
ขึ้นเพราะประจวบกันอิฏฐารมณ์ และในทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะประจวบกับ
อนิฏฐารมณ์ คือไม่ถึงความเปลี่ยนแปลงแห่งจิตอันมีสุขทุกข์นั้นเป็นเหตุ.
ก็บทว่า สุขทุกฺเขสุ นี้ เป็นเพียงเทศนา. พึงทราบว่า ท่านพระนันทะ
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมแม้ทั้งหมด.
จบอรรถกถานันทสูตรที่ 2

3. ยโสชสูตร



ว่าด้วยเสียงอื้ออึง



[71] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ
ประมาณ 500 รูป มีพระยโสชะเป็นประมุข เดินทางมาถึงพระนคร
สาวัตถีโดยลำดับ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ปราศรัยอยู่กับภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและ
จีวรกันอยู่ ได้ส่งเสียงอื้ออึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่าน
พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ใครนั่นมีเสียงอื้ออึงเหมือนชาวประมง
แย่งปลากัน ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ
ประมาณ 500 รูป มีพระยโสชะเป็นประมุขเหล่านี้ เดินทางมาถึงพระนคร-

สาวัตถีโดยลำดับ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านั้น
ปราศรัยอยู่กับภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและ
จีวรกันอยู่ ส่งเสียงอื้ออึง พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำ
ของเราว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย ท่านพระอานนท์ทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว
กะภิกษุเหล่านั้นว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำ
พระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้วได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้น
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไรหนอ เธอทั้งหลายจึงส่งเสียงอื้ออึง
เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน.
[72] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระยโสชะ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ
500 รูปเหล่านี้ เดินทางมาถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ เพื่อจะเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้อันตุกะเหล่านี้ปราศรัยกับภิกษุทั้งหลายผู้เป็น
เจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรกันอยู่ส่งเสียงอื้ออึง พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไป เราประณามเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตร
และจีวรหลีกจาริกไปทางวัชชีชนบท เที่ยวจาริกไปในวัชชีชนบทโดย

ลำดับ ถึงแม่น้ำวัคคุมุทานที กระทำกุฎีมุงบังด้วยใบไม้ เข้าจำพรรษาอยู่
ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานที.
[73] ครั้งนั้นแล ท่านพระยโสชะเข้าจำพรรษาแล้ว เรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่
ประโยชน์ ทรงแสวงหาประโยชน์ ทรงอนุเคราะห์ ทรงอาศัยความ
อนุเคราะห์ ประณามเราทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงใคร่ประ-
โยชน์แก่เราทั้งหลายผู้อยู่ด้วยประการใด ขอเราทั้งหลายจงสำเร็จการอยู่
ด้วยประการนั้นเถิด ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระยโสชะแล้ว ครั้งนั้นแล
ภิกษุเหล่านั้นหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ทุก ๆ รูปได้ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา 3 ภายในพรรษานั้นเอง.
[74] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนคร
สาวัตถีตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครเวสาลี เสด็จเที่ยว
จาริกไปโดยลำดับได้เสด็จถึงพระนครเวสาลี ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลีนั้น ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการกำหนดใจของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ
วัคคุมุทานที ด้วยพระทัยของพระองค์แล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดู
ก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานที อยู่ในทิศใด ทิศนี้
เหมือนมีแสงสว่างแก่เรา เหมือนมีโอภาสแก่เรา เธอเป็นผู้ไม่รังเกียจที่จะ
ไปเพื่อความสนใจแห่งเรา เธอพึงส่งภิกษุผู้เป็นทูตไปในสำนักแห่งภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานทีด้วยสั่งว่า พระศาสดารับสั่งหาท่าน
ทั้งหลาย พระศาสดาใคร่จะเห็นท่านทั้งหลาย ท่านพระอานนท์ทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุ

นั้นว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านจงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่แม่น้ำวัคคุมุทานที
ครั้นแล้ว จงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานทีอย่างนี้ว่า
พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย พระศาสดาทรงประสงค์จะเห็นท่านทั้ง-
หลาย ภิกษุนั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้วหายจากกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน
ไปปรากฏข้างหน้าภิกษุเหล่านั้นที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานที่เปรียบเหมือนบุรุษผู้
มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ลำดับนั้น ภิกษุนั้น
ได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานทีว่า พระศาสดารับสั่งหา
ท่านทั้งหลาย พระศาสดาทรงประสงค์จะเห็นท่านทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
รับคำภิกษุนั้นแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรหายจากฝั่งแม่น้ำ
วัคคุมุทานที ไปปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่กูฏาคาร-
ศาลาป่ามหาวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่
เหยียด ฉะนั้น.
[75] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ด้วยสมาธิ
อันไม่หวั่นไหว ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความดำริว่า บัดนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประทับอยู่ด้วยวิหารธรรมไหนหนอ ภิกษุเหล่านั้นมีความดำริอีกว่า
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ด้วยอาเนญชวิหารธรรม ภิกษุทั้งหมด
นั้นแล ก็อยู่ด้วยอาเนญชสมาธิ.
ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีล่วงไป เมื่อปฐมยามผ่านไป ท่านพระอานนท์
ลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายนั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราศรัยกับภิกษุ

อาคันตุกะทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ทรงนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ 2 เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว
ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูลพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว มัชฌิมยามผ่าน
ไปแล้ว ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายนั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า แม้ครั้งที่ 2 พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงนิ่งอยู่.
แม้ครั้งที่ 3 เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว อรุณขึ้น
แล้ว เมื่อราตรีรุ่งอรุณ ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นจากอาสนะกระทำผ้า
อุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว อรุณขึ้นแล้ว เมื่อราตรีรุ่งอรุณ
ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายนั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราศรัย
กับภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาบัตินั้น แล้วตรัส
กะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าว่าเธอพึงรู้ไซร้ ความรู้แม้มี
ประมาณเท่านี้ ก็ยังไม่ชัดแจ้งแก่เธอ ดูก่อนอานนท์ เราและภิกษุ 500
เหล่านี้ทั้งหมด นั่งแล้วด้วยอาเนญชสมาธิ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ภิกษุใดชนะหนาม คือกาม ชนะการด่า การฆ่า
และการจองจำได้แล้ว ภิกษุนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหวดุจ
ภูเขา ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์.
จบยโสชสูตรที่ 3

อรรถกถายโสชสูตร



ยโสชสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยโสโช ในคำว่า ยโสปฺปมุขานิ นี้ เป็นชื่อของพระ-
เถระนั้น. ภิกษุ 500 รูปนั้น ท่านกล่าวว่ามียโสชภิกษุเป็นหัวหน้า เพราะ
บวชทำท่านยโสชะให้เป็นหัวหน้า และเพราะเที่ยวไปด้วยกัน. ภิกษุ
เหล่านั้นมีการประกอบบุญกรรมไว้ในปางก่อน ดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ศาสนาของพระกัสสปทศพล มีภิกษุ
อยู่ป่ารูปหนึ่ง อยู่ในกุฏิมุงด้วยใบไม้ สร้างไว้ที่ศิลาดาดในป่า. ก็สมัย
นั้นโจร 500 กระทำการปล้นชาวบ้านเป็นต้น เลี้ยงชีพแบบโจรกรรม
กระทำโจรกรรม ถูกพวกมนุษย์ในชนบทพากันติดตาม หนีเข้าป่าไป ไม่
เห็นอะไร ๆ ในที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นรกชัฏหรือที่พึ่งอาศัย เห็นภิกษุนั้น
นั่งอยู่บนแผ่นหินในที่ไม่ไกล จึงไหว้แล้วบอกเรื่องนั้น อ้อนวอนว่า ขอ
ท่านจงเป็นที่พึ่งแก่พวกกระผมเถิดขอรับ. พระเถระกล่าวว่าที่พึ่งอื่นเช่น
กับศีลของพวกท่านไม่มี จงสมาทานศีล 5 กันทั้งหมดเถิด. โจรเหล่านั้น
รับคำของท่านแล้ว สมาทานศีล. พระเถระกล่าวว่า ท่านตั้งอยู่ในศีล
แล้ว ท่านแม้ถึงชีวิตของตนจะพินาศไป ก็อย่าเกรี้ยวกราดด้วยการเบียด
เบียน ดังนี้แล้ว จึงบอกวิธีอุปมาด้วยเลื่อย. โจรเหล่านั้นรับว่า ดีละ.