เมนู

สิ้นโมหะ โดยธรรมสัมโมหะทั้งหมดอันมีทุกข์เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้สิ้นไป
คือบรรลุพระอรหัตผลและพระนิพพาน. บทว่า สุขทุกฺเขสุ น เวธติ ส
ภิกฺขุ
ความว่า ภิกษุผู้ทำลายกิเลสนั้น ย่อมไม่หวั่น ไม่ไหวในสุขที่เกิด
ขึ้นเพราะประจวบกันอิฏฐารมณ์ และในทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะประจวบกับ
อนิฏฐารมณ์ คือไม่ถึงความเปลี่ยนแปลงแห่งจิตอันมีสุขทุกข์นั้นเป็นเหตุ.
ก็บทว่า สุขทุกฺเขสุ นี้ เป็นเพียงเทศนา. พึงทราบว่า ท่านพระนันทะ
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมแม้ทั้งหมด.
จบอรรถกถานันทสูตรที่ 2

3. ยโสชสูตร



ว่าด้วยเสียงอื้ออึง



[71] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ
ประมาณ 500 รูป มีพระยโสชะเป็นประมุข เดินทางมาถึงพระนคร
สาวัตถีโดยลำดับ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ปราศรัยอยู่กับภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและ
จีวรกันอยู่ ได้ส่งเสียงอื้ออึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่าน
พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ใครนั่นมีเสียงอื้ออึงเหมือนชาวประมง
แย่งปลากัน ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ
ประมาณ 500 รูป มีพระยโสชะเป็นประมุขเหล่านี้ เดินทางมาถึงพระนคร-