เมนู

ปรมัตถทีปนี อรรถกถา ขุททกนิกาย


อุทานวรรณนา


อารัมภกถา


ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระโลกนาถผู้ประ-
กอบด้วยพระมหากรุณา ผู้ถึงฝั่งสาครคือไญยธรรม ทรง-
แสดงธรรมอันละเอียดลึกซึ้งมีนัยอันวิจิตร.
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระธรรมอันสูงสุด
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว อันเป็นเหตุนำสัตว์ผู้
เพียบพร้อมด้วยวิชาและจรณะออกจากโลก
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระอริยสงฆ์ ผู้
สมบูรณ์ด้วยศีลคุณเป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผล ผู้เป็น
บุญเขตอันยอดเยี่ยม.
บุญอันใดเกิดจากการไหว้พระรัตนตรัยดังกล่าวมานี้ ขอ
ให้ข้าพเจ้า เป็นผู้มีอันตรายอันเดชแห่งบุญขจัดแล้ว ในที่ทุก
สถาน
พระมเหสีเจ้าผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลทรงแสดงอุทาน
ใด ด้วยนิทานนั้นๆ โดยอปทานอันบริสุทธิ์ พระธรรมสัง-
คาหกาจารย์ เมื่อจะยกอุทานทั้งหมดนั้นรวมไว้เป็นหมวด
เดียวกัน แล้วร้อยกรองให้ชื่อว่า อุทาน อันเป็นเครื่องแสดง
ความสังเวชและความปราโมทย์ ในธรรมของพระชินเจ้า
ประดับด้วยคาถาซึ่งมีโสมนัสญาณเป็นสมุฏฐาน.

การที่ข้าพเจ้ากระทำการขณะพรรณนาอรรถแห่งอุทานนั้น
ทำได้ยาก เพราะจะต้องใช้ญาณอันลึกซึ้งหยั่งลง ก็จริง ถึง
อย่างนั้น เหตุที่สัตถุศาสน์พร้อมทั้งสังวรรณนา ยังคงอยู่ การ
วินิจฉัยของบุรพาจารย์ชาวสีหล ก็ยังคงอยู่เหมือนกัน ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงยึดเอาสัตถุศาสน์นั้น หยั่งลงสู่นิกายทั้ง 5 อาศัย
นัยอรรถกถาเก่าอันบริสุทธิ์ดี ไม่ปะปนกัน ยึดเอาลัทธิของ
พระมหาเถระผู้อยู่ในมหาวิหาร เว้นอรรถที่มาซ้ำ ๆ ซาก ๆ
เสีย จักแต่งอรรถกถาอุทานตามกำลังให้ดี ดังนั้น เมื่อข้าพเจ้า
หวังความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม จำแนกอรรถแห่งอุทาน
อยู่ ขอสาธุชนทั้งหลายจงรับเอาด้วยดีเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทานํ ความว่า ที่ชื่อว่า อุทาน ด้วย
อรรถว่ากระไร ด้วยอรรถว่าเปล่งออก. ที่ชื่อว่า อุทานนี้ คืออะไร ?
คือ การเปล่งอันตั้งขึ้นด้วยกำลังของปิติ. เหมือนอย่างว่า วัตถุที่จะพึ่ง
นับมีน้ำมันเป็นต้นอันใด ไม่สามารถจะนับเอาประมาณได้ ย่อมไหลไป
วัตถุนั้นเรียกว่า อวเสกะ ไหลลง อนึ่ง สายน้ำใด ไม่อาจขังติดเหมือง
ท่วมไป สายน้ำนั้นเรียกว่า โอฆะ ห้วงน้ำ ฉันใด สิ่งใดที่ตั้งขึ้นด้วย
กำลังปิติ แผ่ซ่านไปด้วยกำลังวิตก ไม่สามารถดำรงอยู่ภายในหทัยได้
ก็ฉันนั้น ความเปล่งออกอันพิเศษนั้นเป็นของยิ่ง ไม่ตั้งอยู่ภายใน ออก
ไปภายนอก ทางวจีทวาร ไม่ถึงการรับเอา เรียกว่า อุทาน อาการอันนี้
ย่อมได้แม้ด้วยอำนาจความสังเวชในธรรม.
อุทานนี้นั้น บางแห่งเป็นไปด้วยอำนาจการประพันธ์เป็นคาถา
บางแห่งเป็นไปด้วยอำนาจคำพูด. ก็ลักษณะอุทานอันใดที่ท่านกล่าวไว้ใน

อรรถกถาว่า เกี่ยวด้วยคาถาอันสำเร็จมาแต่โสมนัสญาณนั้น กล่าวโดย
ส่วนข้างมาก. ก็โดยมากอุทาน ท่านกล่าวด้วยการปรพันธ์เป็นคาถา
และตั้งขึ้นด้วยอำนาจปีติและโสมนัส แต่อุทาน แม้นอกนี้ ย่อมได้ใน
ประโยคมีอาทิว่า อตุถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ยตฺถ เนว ปฐวี น อาโป ภิกษุ
ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในที่ที่ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ ไม่มี และได้ใน
ประโยคมีอาทิว่า สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ ชนผู้ใดย่อม
เบียดเบียนเหล่าสัตว์ผู้ใคร่ความสุข ด้วยอาชญา และได้ในประโยคมีอาทิว่า
สเจ ภายถ ทุกฺขสฺส สเจ โว ทุกฺขมปฺปิยํ ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่
เป็นที่รักของท่าน อุทานนี้นั้น ดังกล่าวมาฉะนี้เป็นต้น มี 3 อย่าง คือ
เป็นสัพพัญญูพุทธภาษิต 1 เป็นปัจเจกพุทธภาษิต 1 เป็นสาวกภาษิต 1.
ใน 3 อย่างนั้น ปัจเจกพุทธภาษิต มาในขัดควิสาณสูตร โดยนัยมีอาทิว่า
วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ไม่เบียดเบียนสัตว์
เหล่านั้นแม้ตนหนึ่ง

ฝ่ายสาวกภาษิตมาในเถรคาถา โดยนัยมีอาทิว่า
ราคะทั้งปวงเราละได้แล้ว โทสะทั้งปวงเราถอน
เสียแล้ว โมหะทั้งปวงเราขจัดได้แล้ว เราเป็นผู้ดับ
เย็นสนิทแล้ว

และมาในเถรีคาถาว่า
เราเป็นผู้สำมรวมกาย วาจา และใจถอนตัณหา
พร้อมทั้งรากได้ เป็นผู้ดับเย็นสนิทแล้ว ดังนี้.

ก็อุทานเหล่านั้น เป็นอุทานของพระเถระและพระเถรีเหล่านั้น
อย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้เป็นชนิดสีหนาท (การบันลือดุราชสีห์)

ก็มี. อุทานที่เทวดามีท้าวสักกะเป็นต้นภาษิตไว้ มีอาทิว่า อโห ทานํ
ปรมทานํ กสุสเป สุปฺปติฏฺฐิตํ
และอุทานที่มนุษย์ทั้งหลาย มีโสณทัณฑ-
พราหมณ์เป็นต้นภาษิตไว้มีอาทิว่า นโม ตสฺส ภควโต เป็นอุทานที่ยก
ขึ้นสู่สังคีติทั้ง 3 ครั้ง อุทานเหล่านั้นไม่ประสงค์เอาในที่นี้ . ก็ภาษิต
เหล่าใดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเฉพาะพระองค์เองเป็นพุทธพจน์ และ
ภาษิตเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา เมื่อจะทรงจำแนกแสดง
ปริยัติธรรมออกเป็น 4 อย่าง ที่ตรัสว่า อุทาน ภาษิตนั้นนั่นแหละพระ-
ธรรมสังคาหกาจารย์ร้อยกรองไว้ว่า อุทาน. อุทานั้นนั่นแหละ ในที่นี้
ถือเอาโดยความเป็นสิ่งที่จะพึงสังวรรณนา.
ส่วนคาถาใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ด้วยคาถามีอาทิว่า
อเนกชาติสํสารํ ที่เป็นไปด้วยอำนาจอุทานที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์ และ
คาถาอุทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ไม่ทรงละ. แต่ครั้น
ต่อมา คาถาเหล่านั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ไม่ได้ร้อยกรอง
ไว้ในอุทานบาลี ร้อยกรองไว้ในธรรมบท เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงแก่ภิกษุผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก. ก็คำอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ
โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ
ดังนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสให้มีเสียงกึกก้องแพร่หลาย สามารถประกาศแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ แม้นั้น เป็นเหตุเกิดจากการพิจารณาถึงความ
ลำบากของพระองค์มีผล เพราะอริยมรรคตามที่ทรงแสดงอัน เป็นส่วน
หนึ่งของธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุ เป็นมรรคที่พระเถระบรรลุก่อนกว่า
พระสาวกทั้งปวง ในบรรดาสาวกทั้งหลาย ในเวลาจบเทศนาพระธัมมจัก-
กัปปวัตนสูตร และเป็นเหตุเกิดจากการพิจารณาสัมมาปฏิบัติของภิกษุ

ทั้งปวง ในครั้งปฐมโพธิกาล เป็นเพียงอุทานที่เกิดจากปีติและโสมนัส
ดุจคำมีอาทิว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายทำให้เรายินดีหนอ ไม่เป็นคำ
ประกาศของความเป็นไปหรือหวนกลับมา ดุจคำมีอาทิว่า ยทา หเว
ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏ เพราะฉะนั้น
ไม่พึงเห็นว่า พระธรรมสังคาหกาจารย์ร้อยกรองไว้ในอุทานบาลี.
ก็อุทานนี้นั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎกในบรรดาปิฎก 3 คือ วินัย-
ปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธัมมปิฎก นับเนื่องในขุททกนิกาย ในบรรดา
นิกาย 5 คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย
และขุททกนิกาย สงเคราะห์เข้าในอุทาน ในบรรดาสัตถุสาสน์มีองค์ 9
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก
อัพภูตธรรมและเวทัลละ. สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์เล็กน้อย ในบรรดา
ธรรมขันธ์ 84,000 ธรรมขันธ์ ที่พระธรรมภัณฑาคาริกภิกษุ ปฏิญญา
ไว้อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าเรียนจากพระพุทธเจ้า 82,000 ธรรม-
ขันธ์ จากภิกษุ 2,000 ธรรมขันธ์ รวมเป็นธรรม
ขันธ์ 84,000 ธรรมขันธ์

ว่าโดยวรรคมี 8 วรรค คือ โพธิวรรค มุจจลินทวรรค
นันทวรรค เมฆิยวรรค มหาวรรค ชัจจันธวรรค จูฬวรรค ปาฏลิคามิย-
วรรค. ว่าโดยสูตร สงเคราะห์เป็น 80 สูตร. ว่าโดยคาถา สงเคราะห์
เป็นอุทานคาถา 95 คาถา. ว่าโดยภาณวารประมาณ 9 ครึ่งภาณวาร.
ว่าโดยอนุสนธิ มี 1 อนุสนธิ คือ ปุจฉานุสนธิในโพธิสูตรทั้งหลาย.
ในสุปปพุทธสูตร มี 2 อนุสนธิ คือ ปุจฉานุสนธิและยถานุสนธิ. ใน
สูตรที่เหลือ มีอนุสนธิแต่ละอย่าง ด้วยอำนาจยถานุสนธิ แต่อัชฌาสยานุ-

สนธิไม่มีในที่นี้. มีการสงเคราะห์อนุ สนธิ 81 โดยประการทั้งปวง ด้วย
ประการฉะนี้. ว่าโดยบทมี 21,100 บท ว่าโดยบาทคาถามี 8,423
คาถา ว่าโดยอักขระมี 67,382 อักขระ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
คำนี้ไว้ว่า
อุทานว่าโดยย่อ ท่านประกาศไว้ว่ามี 80 สูตร
8 วรรค 95 คาถา ส่วนภาณวาร ว่าโดยประมาณ
มีประมาณ 9 ครึ่งภาณวาร มีอนุสนธิ 81 อนุสนธิ
ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์แสดงบทอุทานเหล่านี้ คำ-
นวณได้ 21,000 บท

แต่เมื่อว่าโดยบทแห่งคาถา
ท่านแสดงไว้ 8,423 บาทคาถาประกาศอักขระ
ไว้ 67,382 อักขระ ดังนี้.

บรรดาวรรคทั้ง 8 ของอุทานนั้น มี โพธิวรรค เป็นเบื้องต้น.
บรรดาสูตร มี โพธิสูตร เป็นที่ 1. โพธิสูตรแม้นั้น มีนิทานที่ท่าน
พระอานนท์กล่าวไว้ในคราวมหาสังคีติครั้งแรก มีอาทิว่า เอวมฺเม สุตํ
ดังนี้ เป็นเบื้องต้น. ก็มหาสังคีติครั้งแรกนี้นั้น ยกขึ้นสู่ตันติภาษาใน
วินัยปิฎกนั่นแล. ก็ในที่นี้ กถามรรคที่ควรกล่าวเพื่อความฉลาดในนิทาน
แม้นั้น ท่านก็กล่าวไว้ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินีนั้นแล
เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถา ชื่อว่าสุมังคลวิลา-
สินีนั้นเถิด.
จบอารัมภกถา

โพธิวรรควรรณนาที่ 1


อรรถกถาปฐมโพธิสูตร


ก็ในโพธิสูตรนี้ คำว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น เป็นนิทาน. บรรดา
บทเหล่านั้น ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม.
บทว่า วิ ในบทว่า อุรุเวลายํ วิหรติ นี้ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หร ติ
เป็นบทอาขยาต. การจำแนกบทในทุกบท พึงทราบโดยนัยนี้ เป็นอันดับ
แรกแล.
แต่เมื่อว่าโดยอรรถ เอวํ ศัพท์อันดับแรก มีอรรถหลายประเภท
มีอาทิว่า อุปมา อุปเทศ สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ
อาการ นิทัสสนะ อวธารณะ. ปุจฉา อิทมัตถะ ปริมาณ.
จริงอย่าง
นั้น เอวํ ศัพท์นั้นมาในอุปมา ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้เกิดมา
แล้วพึงทำกุศลให้มาก ฉันนั้น. มาในอุปเทศ (ข้อแนะนำ) ในประโยค
มีอาทิว่า ท่านพึงก้าวไปข้างหน้าอย่างนี้ ท่านพึงถอยกลับอย่างนี้ . มาใน
สัมปหังสนะ (ความร่าเริง) ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น. มาใน
ครหณะ (การติเตียน) ในประโยคมีอาทิว่า ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวคุณของ
สมณะโล้นนั้น ในที่ทุกหนทุกแห่ง (ไม่เลือกสถานที่) อย่างนี้ ๆ. มาใน
วจนสัมปฏิคคหะ. (การรับคำ) ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุเหล่านั้นรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เอวํ ภนเต อย่างนั้นแล พระเจ้าข้า.
มาในอาการ ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้
ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อย่างแจ่มแจ้งด้วยอาการ