เมนู

ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความ
ประมาท เป็นทางแห่งความตาย คนผู้ไม่ประมาท
ชื่อว่าย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้วแล.
จบอรรถกถาเอกปุตตสูตรที่ 7

8. สุปปวาสาสูตร



ว่าด้วยทุกข์ของหญิงตั้งครรภ์นาน



[59] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่ากุณฑิฐานวัน* ใกล้
พระนครกุณฑิยา ก็สมัยนั้นแล พระนางสุปปวาสาพระธิดาของพระเจ้า
โกลิยะทรงครรภ์อยู่ถึง 7 ปี มีครรภ์หลงอยู่ถึง 7 วัน พระนางสุปปวาสา
นั้น ผู้อันทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนถูกต้องแล้วทรงอดกลั้นได้ด้วยการตรึก
3 ข้อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้ด้วยพระองค์โดยชอบหนอ
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ปฏิบัติดีแล้วหนอ ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้
นิพพานซึ่งเป็นที่ไม่มีทุกข์เห็นปานนี้เป็นสุขดีหนอ.
[60] ครั้งนั้นแล พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาเชิญพระสวามีมาว่า
เชิญมานี่เถิด พระลูกเจ้า ขอเชิญพระองค์เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นแล้ว ทรงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า
ตามคำของหม่อมฉัน จงทูลถามถึงความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย พระโรค
* บางฉบับเป็น กุณฑธานวัน.

เบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีพระกำลัง ความอยู่สำราญว่า ข้าแต่พระองค์ผู้-
เจริญ นางสุปปวาสาโกลิยธิดาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยเศียรเกล้า และทูลถามความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง
กระปรี้กระเปร่า มีพระกำลัง ความอยู่สำราญ อนึ่ง ขอพระองค์จงกราบ
ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุปปวาสาโกลิยธิดาทรงครรภ์
7 ปี มีครรภ์หลงอยู่ 7 วัน นางสุปปวาสานั้นอันทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อน
ถูกต้องแล้ว ย่อมอดกลั้นได้ด้วยการตรึก 3 ข้อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบหนอ ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อ
ละทุกข์เห็นปานนี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ปฏิบัติหนอ ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ นิพพานซึ่งเป็นที่ไม่มีทุกข์
เห็นปานนี้ เป็นสุขดีหนอ พระราชบุตรพระเจ้าโกลิยะนั้น ทรงรับคำ
ของพระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาแล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา
โกลิยธิดา ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และ
ตรัสถามถึงความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า
ทรงพระกำลัง ความอยู่สำราญ และรับสั่งอย่างนี้ว่า พระนางสุปปวาสา
โกลิยธิดาทรงครรภ์อยู่ถึง 7 ปี มีครรภ์หลงอยู่ 7 วัน พระนางสุปปวาสา
นั้นอันทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนถูกต้องแล้ว ย่อมอดกลั้นได้ด้วยการตรึก
3 ข้อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
หนอ ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ พระสงฆ์สาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ปฏิบัติดีหนอ ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็น
ปานนี้ นิพพานซึ่งเป็นที่ไม่มีทุกข์เห็นปานนี้ เป็นสุขดีหนอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาจงเป็นผู้มี
สุข หาโรคมิได้ ตลอดบุตรหาโรคมิได้เถิด ก็แลพระนางสุปปวาสาโกลิย-
ธิดาทรงมีสุข หาโรคมิได้ ประสูติพระโอรสผู้หาโรคมิได้ พร้อมกับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระราชบุตรของพระเจ้าโกลิยะนั้นทูล
รับพระดำรัสแล้ว ทรงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จ
ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมกระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไปสู่นิเวศน์
ของตน ได้ทรงเห็นพระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาทรงมีสุขหาโรคมิได้
ประสูติพระโอรสผู้หาโรคมิได้ ครั้นแล้วได้ทรงดำริว่า น่าอัศจรรย์จริง
หนอ ไม่เคยมีมา พระตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็แลพระนาง
สุปปวาสาโกลิยธิดานี้ทรงมีสุข หาโรคมิได้ คงจักประสูติพระโอรสผู้หา
โรคมิได้ พร้อมกับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เป็นผู้ปลื้มใจ
เบิกบาน มีปีติโสมนัส.
[61] ครั้งนั้นแล พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาทูลเชิญพระสวามี
มาว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอเชิญพระองค์เสด็จมานี้เถิด เชิญพระองค์เสด็จ
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียร
เกล้าตามคำของหม่อมฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุปปวาสาโกลิย-
ธิดา ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง
ขอพระองค์จงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุปปวาสาโกลิย-
ธิดาทรงครรภ์อยู่ 7 ปี มีครรภ์หลงถึง 7 วัน บัดนี้ พระนางมีสุข หา
โรคมิได้ ตลอดบุตรผู้หาโรคมิได้ นางนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขด้วยภัตตาหารสิ้น 7 วัน ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของนางสุปปวาสาโกลิยธิดา 7 วัน
เถิด. พระราชบุตรของพระเจ้าโกลิยะนั้นทรงรับคำพระนางสุปปวาสาโกลิย-
ธิดาแล้ว เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว
ประทับ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาถวายบังคมพระบาท
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง พระนางรับสั่งมาอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาทรงครรภ์อยู่ถึง 7 ปี
มีครรภ์หลงถึง 7 วัน บัดนี้ พระนางทรงมีสุข หาโรคมิได้ ประสูติพระ-
โอรสผู้หาโรคมิได้ พระนางนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ด้วยภัตตาหารสิ้น 7 วัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
กับภิกษุสงฆ์โปรดทรงรับภัตตาหารของนางสุปปวาสาโกลิยธิดาสิ้น 7 วัน
เถิด.
[62] ก็สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุขด้วยภัตเพื่อฉันในวันพรุ่ง ก็อุบาสกนั้นเป็นอุปัฏฐากของท่าน
พระมหาโมคคัลลานะ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่าน
พระมหาโมคคัลลานะว่า มานี่แน่ะโมคคัลลานะ ท่านจงเข้าไปหาอุบาสก
นั้น ครั้นแล้วจงกล่าวกะอุบาสกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ พระนาง
สุปปวาสาโกลิยธิดาทรงครรภ์อยู่ถึง 7 ปี มีครรภ์หลงถึง 7 วัน บัดนี้
พระนางทรงมีสุข หาโรคมิได้ ประโยคสูติพระโอรส ผู้หาโรคมิได้ นิมนต์
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยภัตตาหารสิ้น 7 วัน พระนาง
สุปปวาสาโกลิยธิดาจงทำภัตตาหารสิ้น 7 วัน อุปัฏฐากของท่านนั้นจักทำ

ภายหลัง ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไป
หาอุบาสกนั้น ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบาสกนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง 7 ปี มีครรภ์หลงถึง 7 วัน
บัดนี้ พระนางทรงมีสุข หาโรคมิได้ ประสูติพระโอรสผู้หาโรคมิได้
นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยภัตตาหารสิ้น 7 วัน พระ-
นางสุปปวาสาโกลิยธิดาจงทำภัตตาหารสิ้น 7 วัน ท่านจักทำในภายหลัง
อุบาสกนั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าว่าพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเจ้า
เป็นผู้ประกันธรรม 3 อย่าง คือ โภคสมบัติ ชีวิตและศรัทธา ของกระผม
ได้ไซร้ พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาจงทำภัตตาหารสิ้น 7 วันเถิด กระผม
จักทำในภายหลัง.
โม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ฉันจะเป็นผู้ประกันธรรม 2 อย่าง คือ
โภคสมบัติ และชีวิตของท่าน ส่วนท่านเองเป็นผู้ประกันศรัทธา.
อุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าว่าพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเจ้าเป็นผู้-
ประกันธรรม 2 อย่าง คือ โภคสมบัติและชีวิตได้ไซร้ พระนางสุปปวาสา
โกลิยธิดาจงทำภัตตาหารสิ้น 7 วันเถิด กระผมจักทำในภายหลัง.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะยังอุบาสกนั้นให้ยินยอมแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้อุบาสกนั้นยินยอมแล้ว พระนางสุปปวาสา-
โกลิยธิดาจงทรงทำภัตตาหารตลอด 7 วัน อุบาสกนั้นจะทำในภายหลัง
พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้นแล พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยพระหัตถ์

ของพระนาง สิ้น 7 วัน ให้ทารกนั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าและ
ให้ไหว้ภิกษุสงฆ์แล้ว ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ถามทารกนั้นว่า
พ่อหนู เธอสบายดีหรือ พอเป็นไปหรือ ทุกข์อะไร ๆ ไม่มีหรือ. ทารก
นั้นตอบว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมจักสบายแต่ไหนได้ พอ
เป็นไปแต่ไหน กระผมอยู่ในท้องเปื้อนด้วยโลหิตถึง 7 ปี. ลำดับนั้นแล
พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา ทรงมีพระทัยชื่นชมเบิกบานเกิดปีติโสมนัส
ว่า บุตรของเราได้สนทนากับพระธรรมเสนาบดี.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระนางสุปปวาสา-
โกลิยธิดา ทรงมีพระทัยชื่นชมเบิกบานเกิดปีติโสมนัสแล้ว จึงตรัสถาม
พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาว่า ดูก่อนพระนาง พึงปรารถนาพระโอรส
เห็นปานนี้แม้อื่นหรือ พระนางสุปปวาสากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตรเห็นปานนี้แม้อื่นอีก 7 คน
เจ้าค่ะ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี ทุกข์อันไม่น่ารักย่อม
ครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ารัก ทุกข์
ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาท โดยความเป็นสุข.

จบสุปปวาสาสูตรที่ 8

อรรถกถาสุปปวาสาสูตร



สุปปวาสาสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า กุณฺฑิยายํ ได้แก่ ใกล้นครของพวกเจ้าโกลิยะ มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า กุณฺฑธานวเน ได้แก่ ในป่าชื่อกุณฑธานะ ไม่ไกลนครนั้น.
เมื่อก่อน เล่ากันมาว่า ยักษ์ตนหนึ่งชื่อกุณฑะ อาศัยอยู่ที่ไพร-
สณฑ์แห่งนั้น และยักษ์นั้นชอบพลีกรรมอันเจือด้วยรำและข้าวตอก
เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงน้อมนำพลีกรรมอย่างนั้นเข้าไปในที่นั้น แก่
ยักษ์นั้น ด้วยเหตุนั้น ไพรสณฑ์นั้น จึงปรากฏว่า กุณฑธานวัน.1
ในที่นี้ไม่ไกลไพรสณฑ์นั้น ยังมีหญิงเจ้าบ้านคนหนึ่ง. แม้นางก็ถูกเรียก
ว่า กุณฑิยา เพราะนางอยู่อาศัยในที่ ๆ เป็นอาณาเขตของยักษ์นั้น และ
เพราะถูกยักษ์นั้นแหละปกครอง. ครั้นต่อมา พวกเจ้าโกลิยะได้สร้างนคร
ขึ้นในที่นั้น. แม้นครนั้น เขาก็เรียกว่า กุณฑิยา เหมือนกันตามชื่อเดิม.
ก็ในไพรสณฑ์นั้น พวกเจ้าโกลิยะได้สร้างวิหาร เพื่อเป็นที่ประทับและ
เป็นที่อยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. แม้ไพรสณฑ์นั้นก็ปรากฏ
ว่า กุณฑธานวันเหมือนกัน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริก
ไปยังชนบท ถึงวิหารนั้นแล้วประทับอยู่ในที่นั้นเอง. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เอกํ สมยํ ภควา กุณฺฑิยายํ วิหรติ กุณฺฑธานวเน* สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกุณฑธานวัน ใกล้เมืองกุณฑิยา.
บทว่า สุปฺปวาสา เป็นชื่อของอุบาสิกานั้น. บทว่า โกลิยธีตา
แปลว่า เป็นราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ.
ก็ราชบุตรีนั้น เป็นอัครอุปัฏฐายิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
* บาลีไทย กุณฺฑิฏฺฐานวเน.