เมนู

บทว่า ผุสนฺติ ผสฺสา อุปธึ ปฏิจฺจ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ผัสสะ
อันเป็นเครื่องอำนวยสุขและอำนวยทุกข์นี้อาศัยอุปธิกล่าวคือขันธปัญจก
ย่อมถูกต้องอารมณ์ตามที่เป็นของตนในเมื่ออุปธินั้นมีอยู่ คือเป็นไปใน
อุปธินั้นเอง. จริงอยู่ อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในสุขเหมือนกัน
เพราะมีสภาวะสงบ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงพรรณนาอรรถนี้ โดยผัสสะ 2
อย่างนั้นเอง. ก็เพื่อแสดงประการที่ผัสสะเหล่านั้นไม่ถูกต้อง ท่านจึง
กล่าวว่า นิรูปธึ เกน ผุเสยฺยุํ ผสฺสา ผัสสะพึงถูกต้องธรรมที่ไม่มีอุปธิ
เพราะเหตุไร. จริงอยู่ เมื่ออุปธิคือขันธ์ไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
เหตุไรเล่า ผัสสะเหล่านั้นจึงพึงถูกต้อง, เพราะว่าเหตุนั้นไม่มี. ก็ถ้าว่า
ท่านทั้งหลายไม่ปรารถนาสุขและทุกข์อันเกิดเพราะการด่าเป็นต้นไซร้ พวก
ท่านพึงกระทำความพากเพียรในความไม่มีอุปธิโดยประการทั้งปวงนั้น
แหละ. คาถาได้จบลงด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ
ด้วยอุทานนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสักการสูตรที่ 4

5. อุปาสกสูตร



ว่าด้วยผู้ไม่มีเครื่องกังวลเป็นสุขในโลก



[55] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสก
ชาวบ้านอิจฉานังคละคนหนึ่ง เดินทางมาถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ ด้วย