เมนู

แสวงหา ค้นคว้า ปรารถนาสุขเพื่อตน ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่ได้รับความ
สุขทั้ง 3 ประการ คือ มนุษยสุข ทิพยสุข นิพพานสุข ในโลกหน้า โดย
ที่แท้ ย่อมได้รับแต่ความทุกข์ด้วยอาญานั้น.
บทว่า เปจฺจ โส ลภเต สุขํ ความว่า บุคคลใด เพียบพร้อม
ด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดู คิดว่า เราปรารถนาสุข เกลียดทุกข์
ฉันใด แม้สัตว์ทั้งปวงก็ฉันนั้น จึงตั้งอยู่ในสัมปัตติวิรัติเป็นต้น ไม่เบียด
เป็น ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้ลำบาก ด้วยอาญาอย่างใดอย่างหนึ่งตามนัยที่
กล่าวแล้ว บุคคลนั้น เป็นมนุษย์ในปรโลก ย่อมได้รับสุขของมนุษย์
เป็นเทวดาย่อมได้รับทิพยสุข เมื่อผ่านสุขทั้งสองนั้นไป ย่อมได้รับความ
สุขในพระนิพพาน. ก็ในที่นี้ เพื่อจะแสดงว่า เพราะบุคคลเช่นนั้นได้
อบรมไว้อย่างแน่นอน ความสุขนั้นเป็นประหนึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้า (เป็น
ปัจจุบัน) ท่านจึงกล่าวว่า ลภเต ดังนี้. แม้ในคาถาต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ 3

4. สักการสูตร



ว่าด้วยการได้สัมผัสพระนิพพาน



[54] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรง-
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์ก็

เป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
เป็นผู้อันมหาชนไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้นแล
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก อดกลั้นสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้าและ
ของภิกษุสงฆ์ไม่ได้ เห็นภิกษุทั้งหลายในบ้านและในป่าแล้ว ย่อมด่า บริ-
ภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียน ด้วยวาจาหยาบคาย ไม่ใช่ของสัตบุรุษ ครั้ง
นั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชน
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์ก็เป็นผู้อันมหาชนสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เป็นผู้อันมหาชน ไม่
สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอัญญ-
เดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอดกลั้นสักการะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและของ
ภิกษุสงฆ์ไม่ได้ เห็นภิกษุสงฆ์ในบ้านและในป่าแล้ว ย่อมด่า บริภาษ
เกรี้ยวกราด เบียดเบียน ด้วยวาจาหยาบคาย ไม่ใช่ของสัตบุรุษ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ท่านทั้งหลาย ผู้อันสุขและทุกข์ถูกต้องแล้วใน
บ้าน ในป่า ไม่ตั้งสุขและทุกข์นั้นจากตน ไม่ตั้งสุข
และทุกข์นั้นจากผู้อื่น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง
เพราะอาศัยอุปธิ ผัสสะทั้งหลายพึงถูกต้องนิพพาน
อันไม่มีอุปธิเพราะเหตุไรเล่า.

จบสักการสูตรที่ 4

อรรถกถาสักการสูตร



สักการสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตน โข ปน สมเยน ภควา สกฺกโต โหติ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะด้วยเครื่องสักการะ
เป็นต้นอันเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น อันเป็นผลแห่งบุญสมภารและคุณวิเศษที่พระ-
องค์บำเพ็ญมา 4 อสังไขยกำไรแสนกัป ประหนึ่งเกิดความอุตสาหะขึ้นว่า
เบื้องหน้าแต่นี้ เราไม่มีโอกาส. จริงอยู่ บารมีทั้งปวงเป็นเหมือนประมวล
กันว่าจักให้วิบากในอัตภาพเดียว จึงบันดาลห้วงน้ำใหญ่คือลาภสักการะ
ให้บังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนเมฆใหญ่เป็นคู่ ๆ ตั้งขึ้นทุกทิศ
ทำให้เกิดห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น. แต่นั้น กษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้นต่าง
ถือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้นมา
แสวงหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้
เป็นเทพแห่งเทพ พระผู้องอาจในหมู่ชน พระผู้ประหนึ่งราชสีห์ในหมู่ชน
ประทับอยู่ที่ไหน จึงเอาเกวียนร้อยเล่มบรรทุกปัจจัยมา เมื่อยังไม่ได้