เมนู

แสวงหา ค้นคว้า ปรารถนาสุขเพื่อตน ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่ได้รับความ
สุขทั้ง 3 ประการ คือ มนุษยสุข ทิพยสุข นิพพานสุข ในโลกหน้า โดย
ที่แท้ ย่อมได้รับแต่ความทุกข์ด้วยอาญานั้น.
บทว่า เปจฺจ โส ลภเต สุขํ ความว่า บุคคลใด เพียบพร้อม
ด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดู คิดว่า เราปรารถนาสุข เกลียดทุกข์
ฉันใด แม้สัตว์ทั้งปวงก็ฉันนั้น จึงตั้งอยู่ในสัมปัตติวิรัติเป็นต้น ไม่เบียด
เป็น ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้ลำบาก ด้วยอาญาอย่างใดอย่างหนึ่งตามนัยที่
กล่าวแล้ว บุคคลนั้น เป็นมนุษย์ในปรโลก ย่อมได้รับสุขของมนุษย์
เป็นเทวดาย่อมได้รับทิพยสุข เมื่อผ่านสุขทั้งสองนั้นไป ย่อมได้รับความ
สุขในพระนิพพาน. ก็ในที่นี้ เพื่อจะแสดงว่า เพราะบุคคลเช่นนั้นได้
อบรมไว้อย่างแน่นอน ความสุขนั้นเป็นประหนึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้า (เป็น
ปัจจุบัน) ท่านจึงกล่าวว่า ลภเต ดังนี้. แม้ในคาถาต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ 3

4. สักการสูตร



ว่าด้วยการได้สัมผัสพระนิพพาน



[54] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรง-
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์ก็