เมนู

สุจี โส จ พฺราหฺมโณ ความว่า บุคคลนั้น คือ พระอริยบุคคล โดย
พิเศษ ได้แก่พระขีณาสพ ชื่อว่าเป็นผู้สะอาด และชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะเป็นผู้หมดจดโดยสิ้นเชิง. ก็เพราะเหตุไร ในข้อนี้สัจจะท่านจึงแยก
ถือเอาจากธรรม ? เพราะสัจจะมีอุปการะมาก. จริงอย่างนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ทรงประกาศคุณของสัจจะไว้ในสุตตบทเป็นอันมาก โดยนัย
มีอาทิว่า คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย. สัจจะแลดีกว่ารสทั้งหลาย. บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวผู้ตั้งอยู่ในสัจจะอันเป็นอรรถและธรรมว่าเป็นสัตบุรุษ และ
ว่า สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ. ประกาศโทษของธรรมที่ตรงกันข้าม
กับสัจจะโดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ผู้มักพูดเท็จล่วงธรรมเอกเสีย และว่า ผู้พูด
คำอันไม่เป็นจริงย่อมเข้าถึงนรกแล.
จบอรรถกถาชฏิลสูตรที่ 9

10. พาหิยสูตร



ว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดทุกข์



[47] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล กุล-
บุตรชื่อพาหิยทารุจีริยะอาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะ ใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อัน
มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้นแล พาหิยทารุจีริยะหลีกเร้นอยู่ในที่
ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เราเป็นคนหนึ่งในจำนวนพระ-

อรหันต์หรือผู้ถึงอรหัตมรรคในโลก ลำดับนั้นแล เทวดาผู้เป็นสายโลหิต
ในกาลก่อนของพาหิยทารุจีริยะ เป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์ ได้
ทราบความปริวิตกแห่งใจของพาหิยทารุจีริยะด้วยใจ แล้วเข้าไปหาพาหิย-
ทารุจีริยะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนพาหิยะ ท่านไม่เป็นพระอรหันต์
หรือไม่เป็นผู้ถึงอรหัตมรรคอย่างแน่นอน ท่านไม่มีปฏิปทาเครื่องให้เป็น
พระอรหันต์หรือเครื่องเป็นผู้ถึงอรหัตมรรค พาหิยทารุจีริยะถามว่า เมื่อ
เป็นอย่างนั้น บัดนี้ ใครเล่าเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้ถึงอรหัตมรรค
ในโลกกับเทวโลก เทวดาตอบว่า ดูก่อนพาหิยะ ในชนบททางเหนือ
มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ประทับอยู่ในพระนครนั้น ดูก่อนพาหิยะ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระองค์นั้นแลเป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอน ทั้งทรงแสดงธรรม
เพื่อความเป็นพระอรหันต์ด้วย ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะผู้อันเทวดา
นั้นให้สลดใจแล้ว หลีกไปจากท่าสุปปารกะในทันใดนั้นเอง ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี โดยการพักแรมสิ้นราตรีหนึ่งในที่
ทั้งปวง.
[48] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิย-
ทารุจีริยะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูก่อนพาหิยะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต ลำดับนั้นแล

พาหิยทารุจีริยะรีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน เข้าไปยังพระนครสาวัตถี
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี
น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ถึงความฝึกและ
ความสงบอันสูงสุด มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวมแล้ว
ผู้ประเสริฐแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอบลงแทบพระบาท
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประ-
โยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด.
[49] เมื่อพาหิยทารุจีริยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่
ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่ แม้ครั้งที่ 2 พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตราย
แก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของ
ข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรม
ที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอด
กาลนานเถิด.
แม้ครั่งที่ 2 ...แม้ครั้งที่ 3 พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์
ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรง

แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมเพื่อประ-
โยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่าน
พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูก่อนพาหิยะ
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจัก
เป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อ
รู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี
ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีใน
ระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.
ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิย-
ทารุจีริยกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.
[50] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน
แม่โคลูกอ่อนขวิดพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตนพระนครสาวัตถีเสด็จกลับจากบิณฑบาต
ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จออกจากพระนครพร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ได้
ทอดพระเนตรเห็นพาหิยทารุจีริยะทำกาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับสรีระของพาหิยทารุจีริยะ
ยกขึ้นสู่เตียงแล้ว จงนำไปเผาเสีย แล้วจงทำสถูปไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พาหิยทารุจีริยะประพฤติธรรมอันประเสริฐเสมอกับท่านทั้งหลาย ทำกาละ

แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ช่วยกันยกสรีระของ
พระพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้ แล้วเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรีระของพาทิย-
ทารุจีริยะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายทำไว้แล้ว คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพ
เบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร.
พระผู้มีพระภาณเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะ.
เป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ทั้งไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะ
เหตุแห่งการแสดงธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพาน
แล้ว .
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพาน-
ธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง
พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง
ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใด พราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์
ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์.

จบพาหิยสูตรที่ 10
จบโพธิวรรคที่ 1

อรรถกถาพาหิยสูตร


พาหิยสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พาหิโย เป็นชื่อของท่าน. บทว่า ทารุจีริโย ได้แก่ ผ้า
คากรองที่ทำด้วยไม้. บทว่า สุปฺปารเก ได้แก่ อยู่ที่ท่าชื่ออย่างนั้น. ก็
พาหิยะนี้คือใคร, และอย่างไรจึงเป็นผู้ทรงผ้าคากรองทำด้วยไม้, อย่างไร
จึงอยู่อาศัยที่ท่าสุปปารกะ ?
ในข้อนั้น มีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตะ
ในที่สุดแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ กุลบุตรคนหนึ่งกำลังฟังพระธรรมเทศนา
ของพระทศพลที่หังสวดีนคร เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้
ในตำแหน่งเอตทัคคะแห่งภิกษุผู้เป็นขิปปาภิญญา คิดว่า ไฉนหนอ ใน
อนาคต เราจักบวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นปานนี้
แล้วพึงเป็นผู้อันพระศาสดาสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเช่นนี้ เหมือน
ภิกษุรูปนี้ ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญบุญญาธิการอันสมควร
แก่ตำแหน่งนั้น บำเพ็ญบุญอยู่ตลอดชีวิต มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ บวชในพระศาสนาของพระกัสสปทศพล
มีศีลบริบูรณ์บำเพ็ญสมณธรรม ถึงความสิ้นชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลก.
ท่านอยู่ในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิใน
เรือนมีสกุลในพาหิยรัฐ ชนทั้งหลายจำเขาได้ว่า พาหิยะ เพราะเกิดใน
พาหิยรัฐ. เขาเจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เอาเรือบรรทุกสินค้ามากมาย
แล่นไปยังสมุทรกลับไปกลับมา สำเร็จความประสงค์ 7 ครั้งจึงกลับนคร
ของตน ครั้นครั้งที่ 8 คิดจะไปสุวรรณภูมิ จึงขนสินค้าแล่นเรือไป. เรือ