เมนู

20. มรรควรรควรรณนา



1. เรื่องภิกษุ 500 รูป [204]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ 500 รูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มคฺคานฏฺฐงฺคิโก" เป็นต้น.

พวกภิกษุพูดถึงทางที่ตนเที่ยวไป


ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จเที่ยวจาริกไปใน
ชนบทแล้วเสด็จมาสู่กรุงสาวัตถีอีก, นั่งในโรงเป็นที่บำรุง พูดมรรคกถา
ปรารภทางที่ตนเที่ยวไปแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า " ทางแห่งบ้านโน้นจาก
บ้านโน้นสม่ำเสมอ, ทางแห่งบ้านโน้น (จากบ้านโน้น ) ไม่สม่ำเสมอ, มี
กรวด, ไม่มีกรวด."

อริยมรรคเป็นทางให้พ้นทุกข์


พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุเหล่านั้น เสด็จ
มายังที่นั้นแล้ว ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูไว้ ตรัสถามว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรเล่า ?" เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อนี้," ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ทางที่
พวกเธอพูดถึงนี้ เป็นทางภายนอก ธรรมดาภิกษุทำกรรมในอริยมรรค
จึงควร, (ด้วยว่า) ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" ดังนี้
แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-.

1. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปทานญฺจ จกฺขุมา
เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา.
เอตญฺหิ ตุเมฺห ปฏิปชฺชถ มารสฺเสตํ1 ปโมหนํ
เอตญฺหิ ตุเมฺห ปฏิปนฺนา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ.
อกฺขาโต โว มยา มคฺโค อญฺญาย สลฺลสตฺถนํ
ตุเมฺหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.

"บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐ,
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท 4 ประเสริฐ, บรรดาธรรม
ทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ, บรรดาสัตว์ 2 เท้า และ
อรูปธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐ;
ทางนี้เท่านั้น เพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทาง
อื่นไม่มี, เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนินตาม
ทางนี้ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้
หลง, ด้วยว่า ท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้; เราทราบทางเป็นที่สลัดลูกศร
แล้ว จึงบอกแก่ท่านทั้งหลาย, ท่านทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเครื่องเผากิเลส, พระตถาคตทั้งหลาย
เป็นแต่ผู้บอก, ชนทั้งหลายผู้ดำเนินไปแล้ว มีปกติ
เพ่งพินิจ ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกของมาร."

1. อรรถกถา มารเสนปฺปโมหนํ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคฺคานฏฺฐงฺคิโก ความว่า ทางทั้งหลาย
จงเป็นทางไปด้วยแข้งเป็นต้นก็ตาม เป็นทางทิฏฐิ 62 ก็ตาม บรรดา
ทางแม้ทั้งหมด ทางมีองค์ 8 อันทำการละทาง 8 มีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น
ด้วยองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ยังกิจมีอันกำหนด
รู้ทุกข์เป็นต้น ในสัจจะแม้ทั้งสี่ให้สำเร็จ ประเสริฐคือยอดเยี่ยม.
บาทพระคาถาว่า สจฺจานํ จตุโร ปทา ความว่า บรรดาสัจจะ
เหล่านี้ แม้ทั้งหมด จงเป็นวจีสัจจะอันมาแล้ว (ในพระบาลี) ว่า " บุคคล
พึงกล่าวคำสัตย์, ไม่พึงโกรธ," เป็นต้นก็ตาม, เป็นสมมติสัจจะอันต่าง
โดยสัจจะเป็นต้นว่า " เป็นพราหมณ์จริง, เป็นกษัตริย์จริง" ก็ตาม,
เป็นทิฏฐิสัจจะ (โดยนัย) ว่า1 " สิ่งนี้เท่านั้นจริง, สิ่งอื่นเปล่า," เป็นต้น
ก็ตาม, เป็นปรมัตถสัจจะ อันต่างโดยสัจจะเป็นต้นว่า " ทุกข์เป็นความจริง
อันประเสริฐ" ก็ตาม, บท 4 มีบทว่า " ทุกข์ เป็นความจริงอันประเสริฐ "
เป็นต้น ชื่อว่าประเสริฐ เพราะอรรถว่าทุกข์อันโยคาวจรควรกำหนดรู้
เพราะอรรถว่าสมุทัยอันโยคาวจรควรละ เพราะอรรถว่านิโรธอันโยคาวจร
ควรทำให้แจ้ง, เพราะอรรถว่ามรรคมีองค์ 8 อันโยคาวจรควรเจริญ
เพราะอรรถว่าแทงตลอดได้ด้วยญาณอันเดียว2 และเพราะอรรถว่าแทง
ตลอดได้โดยแน่นอน.
บาทพระคาถาว่า วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ความว่า บรรดาธรรม
ทั้งปวง วิราคะ กล่าวคือพระนิพพาน ชื่อว่าประเสริฐ เพราะพระพุทธ-
พจน์ว่า3 ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัยไม่
1. อัง. ทสก. 24/210. 2.แปลว่า:- เพราะอรรถว่า แทงตลอดได้ในขณะเดียวกันก็มี.
3. ขุ. อิติ. 25/298.

ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเพียงไร, บรรดาธรรมเหล่านั้นวิราคะเรากล่าวว่า
เป็นยอด."
บาทพระคาถาว่า ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ความว่า บรรดาสัตว์ 2 เท้า
อันต่างโดยเทวดาและมนุษย์เป็นต้นแม้ทั้งหมด พระตถาคตผู้มีจักษุ1 5
ประการเท่านั้น ประเสริฐ. ศัพท์ มีอันประมวลมาเป็นอรรถ ย่อม
ประมวลเอาอรูปธรรมทั้งหลายด้วย; เพราะฉะนั้น แม้บรรดาอรูปธรรม
ทั้งหลาย พระตถาคตก็เป็นผู้ประเสริฐ คือสูงสุด.
บาทพระคาถาว่า ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา ความว่า ทางใดที่เรา
(ตถาคต) กล่าวว่า " ประเสริฐ" ทางนั่นเท่านั้น เพื่อความหมดจดแห่ง
ทัสสนะคือมรรคและผล; ทางอื่นย่อมไม่มี.
บทว่า เอตํ หิ ความว่า เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนิน
ทางนั้น นั่นแหละ.
ก็บทว่า มารเสนปฺปโมหนํ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า
" เป็นที่หลงแห่งมาร คือเป็นที่ลวงแห่งมาร."
บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ท่านทั้งหลายจักทำที่สุด คือเขตแดน
แห่งความทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้.
บทว่า สลฺลสตฺถนํ เป็นต้น ความว่า เราเว้นจากกิจทั้งหลาย มี
การได้ฟัง (จากผู้อื่น) เป็นต้น ทราบทางนั่น อันเป็นที่สลัดออกคือย่ำยี
ได้แก่ถอนออกซึ่งลูกศรทั้งหลาย มีลูกศรคือราคะเป็นต้น โดยประจักษ์
แก่ตนแล้วทีเดียว จึงบอกทางนี้, บัดนี้ท่านทั้งหลายพึงทำ ได้แก่ควรทำ
ความเพียรคือสัมมัปปธาน อันถึงซึ่งการนับว่าอาตัปปะ เพราะเป็นเครื่อง
1. มังสจักขุ จักษุคือดวงตา 1 ทิพพจักขุ จักษุทิพย์ 1 ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา 1
พุทธจักข จักษแห่งพระพุทธเจ้า 1 สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ 1.

เผากิเลสทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุทางนั้น. เพราะพระตถาคต
ทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกอย่างเดียว, เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติแล้ว
ด้วยสามารถแห่งทางที่พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นตรัสบอกแล้ว มีปกติเพ่ง
ด้วยฌานสองอย่าง ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารกล่าวคือวัฏฏะอัน
เป็นไปในภูมิสาม.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตผล.
พระธรรมเทศนาได้สำเร็จประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุ 500 รูป จบ.

2. เรื่องภิกษุ 500 รูปอื่นอีก [205]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ 500 รูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺเพ สงฺขารา" เป็นต้น.

ภิกษุเรียนกัมมัฏฐาน


ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว
แม้พากเพียรพยายามอยู่ในป่า ก็ไม่บรรลุพระอรหัต จึงคิดว่า " เราจัก
เรียนกัมมัฏฐานให้วิเศษ" ดังนี้แล้วได้ไปสู่สำนักพระศาสดา.

ทางแห่งความหมดจด


พระศาสดาทรงพิจารณาว่า " กัมมัฏฐานอะไรหนอแล เป็นที่
สบายของภิกษุเหล่านี้ ?" จึงทรงดำริว่า " ภิกษุเหล่านี้ ในกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ตามประกอบแล้วในอนิจจลักษณะสิ้น
สองหมื่นปี, เพราะฉะนั้น การแสดงคาถาด้วยอนิจจลักษณะนั้นแลแก่เธอ
ทั้งหลาย สัก 1 คาถาย่อมควร ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สังขาร
แม้ทั้งปวงในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย เพราะ
อรรถว่ามีแล้วไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
2. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

"เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความ
หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."