เมนู

"บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง, อนึ่ง บุรุษแห่ง
พระยายม (คือความตาย) ปรากฏแก่ท่านแล้ว. ท่าน
ตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม, อนึ่ง แม้เสบียงทาง
ของท่าน ก็ยังไม่มี. ท่านนั้น จงทำที่พึ่งแก่ตน, จงรีบ
พยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านกำจัดมลทินได้แล้ว
ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปณฺฑุปลาโสว ทานิสิ
ความว่า อุบาสก บัดนี้ท่านได้เป็นเหมือนใบไม้ที่เหลืองอันขาดตกลง
บนแผ่นดิน.
ทูตของพระยายม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ยมิปุริสา. แต่
คำนี้ พระองค์ตรัสหมายถึงความตายนั่นเอง. อธิบายว่า ความตายปรากฏ
แก่ท่านแล้ว.
บทว่า อุยฺโยคมุเข ความว่า ก็ท่านเป็นผู้ตั้งอยู่แล้วใกล้ปากแห่ง
ความเสื่อม คือใกล้ปากแห่งความไม่เจริญ.
บทว่า ปาเถยฺยํ ความว่า แม้เสบียงทางคือกุศลของท่านผู้จะไปสู่
ปรโลก ก็ยังไม่มี เหมือนเสบียงทางมีข้าวสารเป็นต้น ของบุคคลผู้เตรียม
จะไป ยังไม่มีฉะนั้น.
สองบทว่า โส กโรหิ ความว่า ท่านนั้นจงทำที่พึ่งคือกุศลแก่ตน
เหมือนบุคคลเมื่อเรืออับปางในสมุทร ทำที่พึ่งกล่าวคือเกาะ (แก่ตน)
ฉะนั้น, และท่านเมื่อทำ จึงรีบพยายาม คือจงปรารภความเพียรเร็ว ๆ
จงเป็นบัณฑิต ด้วยกายทำที่พึ่งกล่าวคือกุศลกรรมแก่ตน. ด้วยว่า ผู้ใด
ทำกุศลในเวลาที่ตนยังไม่ถึงปากแห่งความตาย สามารถจะทำได้นั่นแล,

ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต. อธิบายว่า ท่านจงเป็นผู้เช่นนั้น อย่าเป็นอันธพาล.
สองบทว่า ทิพฺพํ อริยภูมึ ความว่า ท่านทำความเพียรอยู่อย่างนี้
ชื่อว่าผู้กำจัดมลทินได้แล้ว เพราะความเป็นผู้นำมลทินมีราคะเป็นต้นออก
เสียได้, ชื่อว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน คือหมดกิเลส เพราะไม่มีกิเลสเพียง
ดังเนิน จักถึงชั้นสุทธาวาสภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระอริยบุคคลผู้หมดจดแล้ว
5 ภูมิ.1
ในกาลจบเทศนา อุบาสกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้มี
ประโยชน์ แม้แก่หมู่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

พวกบุตรถวายทานอีก


บุตรเหล่านั้น ทูลนิมนต์พระศาสดา แม้เพื่อประโยชน์ในวันรุ่งขึ้น
ถวายทานแล้ว ได้กราบทูลพระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจแล้ว ในเวลาทรง
อนุโมทนาว่า พระเจ้าข้า แม้ภัตนี้พวกข้าพระองค์ถวายให้เป็นชีวภัตเพื่อ
บิดาของปวงข้าพระองค์เหมือนกัน, ขอพระองค์จงทรงทำอนุโมทนาแก่
บิดานี้นี่แล."
พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา ได้ตรัส 2 พระคาถา
นี้ว่า:-
อุปนีตวโยว ทานิสิ
สมฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติกํ
วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา
ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ.

1. 5 ภูมิคือ อวิหา 1 อตัปปา 1 สุทัสสา 1 สุทัสสี 1 อกนิฏฐา 1 ภูมิทั้ง 5 นี้อยู่ในพรหมโลก
ชั้นสุทธาวาส เป็นที่เกิดแห่งพระอนาคามี.