เมนู

มุนีทำความเป็นผู้นิ่ง, พวกสาวกของพระสมณโคดมเที่ยวกล่าวกถามาก
มาย ในที่ทั้งหลายมีโรงภัตเป็นต้น.

ลักษณะมุนีและผู้ไม่ใช่มุนี


พระศาสดาทรงสดับความนั้น ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
ว่า ' มุนี ' เพราะเหตุสักว่าเป็นผู้นิ่ง; เพราะคนบางพวกไม่รู้ ย่อมไม่พูด,
บางพวกไม่พูด เพราะความเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า, บางพวกไม่พูด เพราะ
ตระหนี่ว่า ' คนเหล่าอื่นอย่ารู้เนื้อความอันดียิ่งนี้ของเรา; เพราะฉะนั้น
คนไม่ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะเหตุสักว่าเป็นคนนิ่ง, แต่ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะ
ยังบาปให้สงบ." ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
8. น โมเนน มุนิ โหติ มูฬฺหรูโป อวิทฺทสุ
โย จ ตุลํว ปคฺคยฺห วรมาทาย ปณฺฑิโต
ปาปานิ ปริวชฺเชติ ส มุนิ เตน โส มุนิ
โย มุนาติ อุโภ โลเก มุนิ เตน ปวุจฺจติ.

" บุคคลเขลา ไม่รู้โดยปกติ ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะความเป็นผู้นิ่ง, ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตถือธรรม
อันประเสริฐ ดุจบุคคลประคองตาชั่ง เว้นบาป
ทั้งหลาย, ผู้นั้นเป็นมุนี, ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุ
นั้น; ผู้ใดรู้อรรถทั้งสองในโลก, ผู้นั้นเรากล่าวว่า
' เป็นมุนี ' เพราะเหตุนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น โมเนน ความว่า ก็บุคคลชื่อว่าเป็น

มุนี เพราะโมนะคือมรรคญาณ1 กล่าวคือข้อปฏิบัติเครื่องเป็นมุนี ก็จริงแล,
ถึงอย่างนั้น ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมเนน หมายเอา
ความเป็นผู้นิ่ง. บทว่า มุฬฺหรูโป คือ เป็นผู้เปล่า.
บทว่า อวิทฺทสุ คือ ไม่รู้โดยปกติ. อธิบายว่า " ก็บุคคลเห็นปาน
นั้น แม้เป็นผู้นิ่ง ก็ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี; อีกอย่างหนึ่ง ไม่ชื่อว่าโมไนยมุนี,
แต่เป็นผู้เปล่าเป็นสภาพ และไม่รู้โดยปกติ.
บาทพระคาถาว่า โย จ ตุลํ ว ปคฺคยฺห ความว่า เหมือนอย่าง
คนยืนถือตาชั่งอยู่, ถ้าของมากเกินไป, ก็นำออกเสีย, ถ้าของน้อย, ก็
เพิ่มเข้า ฉันใด; ผู้ใดนำออก ชื่อว่าเว้นบาป ดุจคนเอาของที่มากเกินไป
ออก. บำเพ็ญกุศลอยู่ดุจคนเพิ่มของอันน้อยเข้า ฉันนั้นเหมือนกัน; ก็แล
เมื่อทำอย่างนั้น ชื่อว่าถือธรรมอันประเสริฐ คือสูงสุดทีเดียว กล่าวคือศีล
สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เว้นบาป คือกรรมที่เป็นอกุศล
ทั้งหลาย. สองบทว่า ส มุนิ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี. หลายบทว่า
เตน โส มุนิ ความว่า หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า " ก็เพราะเหตุไร ผู้
นั้นจึงชื่อว่าเป็นมุนี ?" ต้องแก้ว่า " ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุที่กล่าว
แล้วในหนหลัง."
บาทพระคาถาว่า โย มุนาติ อุโภ โลเก ความว่า บุคคลผู้ใดรู้
อรรถทั้งสองนี้ ในโลกมีขันธ์เป็นต้นนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า "ขันธ์เหล่านี้
เป็นภายใน, ขันธ์เหล่านี้เป็นภายนอก" ดุจบุคคลยกตาชั่งขึ้นชั่งอยู่
ฉะนั้น. หลายบทว่า มุนิ เตน ปวุจฺจติ ความว่า ผู้นั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ' เป็นมุนี ' เพราะเหตุนั้น.
1. ญาณอันสัมปยุตด้วยมรรค.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องเดียรถีย์ จบ.

9. เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ [202]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพรานเบ็ด
ชื่ออริยะคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน อริโย โหติ"
เป็นต้น.

พรานเบ็ดต้องการให้พระศาสดาตรัสเรียกตนว่าอริยะ


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดา-
ปัตติมรรคของนายอริยะนั้น เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้ประตูด้านทิศ
อุดร แห่งกรุงสาวัตถี อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จมาแต่บ้านนั้น. ขณะนั้น
พรานเบ็ดนั้นตกปลาอยู่ด้วยเบ็ด เห็นภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ได้ทั้งคันเบ็ดยืนอยู่แล้ว.
พระศาสดาเสด็จกลับ ประทับยืนอยู่ ณ ที่ไม่ไกลพรานเบ็ดนั้น ตรัส
ถามชื่อของพระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นว่า " เธอชื่อไร ?
เธอชื่อไร ?" แม้พระสาวกเหล่านั้น ก็กราบทูลชื่อของตน ๆว่า " ข้า-
พระองค์ชื่อสารีบุตร, ข้าพระองค์ชื่อโมคคัลลานะ" เป็นต้น. พรานเบ็ด
คิดว่า " พระศาสดาย่อมตรัสถามชื่อสาวกทุกองค์, เห็นจักตรัสถามชื่อของ
เราบ้าง."

ลักษณะผู้เป็นอริยะและไม่ใช่อริยะ


พระศาสดาทรงทราบความปรารถนาของพรานเบ็ดนั้น จึงตรัสถาม
ว่า " อุบาสก เธอชื่อไร ?" เมื่อเขากราบทูลว่า " ข้าพระองค์ชื่ออริยะ
พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " อุบาสก ผู้ที่ฆ่าสัตว์เช่นท่านจะชื่อว่าอริยะไม่ได้,