เมนู

"บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคนพวก
อื่นหามิได้, บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่ชื่อว่า
เป็นภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น; ผู้ใดในศาสนานี้
ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ (รู้ธรรม)
ในโลก ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแลเราเรียก
ว่า 'ภิกษุ.'

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา ความว่า ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะ
เหตุสักว่าขอกะชนพวกอื่นหามิได้. บทว่า วิสํ1 เป็นต้น ความว่า ผู้ที่
สมาทานธรรมไม่เสมอ หรือธรรมมีกายกรรมเป็นต้น อันมีกลิ่นเป็นพิษ
ประพฤติอยู่ หาชื่อว่าเป็นภิกษุไม่. บทว่า โยธ เป็นต้น ความว่า ผู้ใด
ในศาสนานี้ ลอยคือบรรเทาบุญและบาปแม้ทั้งสองนี้ด้วยมรรคพรหมจรรย์
ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า สงฺขาย คือ ด้วยญาณ. บทว่า
โลเก เป็นต้น ความว่า บุคคลรู้ธรรมแม้ทั้งหมดในโลก มีขันธโลก
เป็นต้น อย่างนี้ว่า "ขันธ์เหล่านี้เป็นภายใน, ขันธ์เหล่านี้เป็นภายนอก"
เที่ยวไป, ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ' ภิกษุ ' เพราะเป็นผู้ทำลาย
กิเลสทั้งหลายด้วยญาณนั้นแล้ว.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.
1. บาลีเป็น วิสฺสํ.

8. เรื่องเดียรถีย์ [201]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกเดียรถีย์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น โมเนน" เป็นต้น.

เหตุที่ทรงอนุญาตอนุโมทนากถา


ได้ยินว่า พวกเดียรถีย์เหล่านั้นทำอนุโมทนาแก่พวกมนุษย์ ใน
สถานที่ตนบริโภคแล้ว, กล่าวมงคลโดยนัยเป็นต้นว่า " ความเกษมจงมี,
ความสุขจงมี, อายุจงเจริญ; ในที่ชื่อโน้นมีเปือกตม, ในที่ชื่อโน้นมีหนาม,
การไปสู่ที่เห็นปานนั้นไม่ควร" แล้วจึงหลีกไป. ก็ในปฐมโพธิกาล ใน
เวลาที่ยังไม่ทรงอนุญาตวิธีอนุโมทนาเป็นต้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำอนุ-
โมทนาแก่พวกมนุษย์ในโรงภัตเลย ย่อมหลีกไป. พวกมนุษย์ยกโทษว่า
"พวกเราได้ฟังมงคลแต่สำนักของเดียรถีย์ทั้งหลาย, แต่พระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลายนิ่งเฉย หลีกไปเสีย." ภิกษุทั้งหลายยกราบทูลความนั้นแด่พระ-
ศาสดา.
พระศาสดาทรงอนุญาตว่า " ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป ท่านทั้ง-
หลายจงทำอนุโมทนาในที่ทั้งหลายมีโรงภัตเป็นต้น ตามสบายเถิด, จงกล่าว
อุปนิสินนกถาเถิด" ภิกษุเหล่านั้นทำอย่างนั้นแล้ว.

พวกเดียรถีย์ติเตียนพุทธสาวก


พวกมนุษย์ฟังวิธีอนุโมทนาเป็นต้น ถึงความอุตสาหะแล้ว นิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย เที่ยวทำสักการะ. พวกเดียรถีย์ยกโทษว่า " พวกเราเป็น