เมนู

โย จ สเมติ ปาปานิ อณุํถูลานิ สพฺพโส
สมิตตฺตา หิ ปาปานํ สมโณติ ปวุจฺจติ.

"ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ
เพราะศีรษะโล้น, ผู้ประกอบด้วยความอยากและ
ความโลภ จะเป็นสมณะอย่างไรได้; ส่วนผู้ใด ยัง
บาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบโดยประการทั้งปวง, ผู้นั้น
เรากล่าวว่า 'เป็นสมณะ' เพราะยังบาปให้สงบ
แล้ว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุณฺฑเกน ความว่า เพราะเหตุสักว่า
ศีรษะโล้น. บทว่า อพฺพโต คือเว้นจากศีลวัตรและธุดงควัตร. สองบทว่า
อลิกํ ภณํ ความว่า ผู้กล่าวมุสาวาท ประกอบด้วยความอยากในอารมณ์
อัน ยังไม่ถึง และด้วยความโลภในอารมณ์อัน ถึงแล้ว จักชื่อว่าเป็นสมณะ
อย่างไรได้. บทว่า สเมติ ความว่า ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้
สงบ, ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ' เป็นสมณะ' เพราะยังบาป
เหล่านั้นให้สงบแล้ว.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ จบ.

7. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [200]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์
คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน ภิกฺขุ โส โหติ"
เป็นต้น.

พราหมณ์อยากให้พระศาสดาเรียกตนว่าภิกษุ


ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นบวชในลัทธิภายนอกเที่ยวภิกษาอยู่ คิดว่า
"พระสมณโคดมเรียกสาวกของตนผู้เที่ยวภิกษาว่า ภิกษุ,' การที่พระ-
สมณโคดมเรียกแม้เราว่า ' ภิกษุ ' ก็ควร." เขาเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้าก็เที่ยวภิกษาเลี้ยงชีพอยู่, พระองค์
จงเรียกแม้ข้าพเจ้าว่า 'ภิกษุ."

ลักษณะภิกษุและผู้มิใช่ภิกษุ


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพราหมณ์นั้นว่า "พราหมณ์ เราหา
เรียกว่า ' ภิกษุ ' เพราะอาการเพียงขอ (เขาไม่), เพราะผู้สมาทานธรรม
อันเป็นพิษแล้วประพฤติอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าภิกษุหามิได้, ส่วนผู้ใดเที่ยว
ไปด้วยพิจารณาสังขารทั้งปวง, ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า :-
7. น เตน ภิกฺขุ โส โหติ ยาวตา ภิกฺขเต ปเร
วิสฺสํ ธมฺมํ สมาทาย ภิกฺขุ โหติ น ตาวตา.
โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ พาเหตฺวา พฺรหฺมจริยวา
สงฺขาย โลเก จรติ ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ.