เมนู

5. เรื่องภิกษุมากรูป [198]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น วากฺกรณมตฺเต " เป็นต้น.
พระเถระบางพวกอยากได้ลาภสักการะ
ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระเถระบางพวกเห็นภิกษุหนุ่มและ
สามเณรทำการรับใช้ทั้งหลายมีอันย้อมจีวรเป็นต้น แก่อาจารย์ผู้บอก
ธรรมของตนนั่นแล คิดว่า " แม้เราก็ฉลาดในลัทธิพยัญชนะ, ผลอะไร ๆ
ไม่มีแก่เราเลย; ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลอย่างนี้ว่า
' ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในลัทธิพยัญชนะ, ขอ
พระองค์จงบังคับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายว่า ' พวกเธอแม้เรียน
ธรรมในสำนักของอาจารย์อื่นแล้ว ยังไม่สอบทานในสำนักของภิกษุเหล่านี้
แล้ว อย่าสาธยาย,' ลาภสักการะจักเจริญแก่เราทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้
แล." พระเถระเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลอย่างนั้น.
พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงทราบว่า " ใคร ๆ
ก็พูดเช่นนั้นได้ ด้วยสามารถประเพณีในพระศาสนานี้เท่านั้น, แต่ภิกษุ
เหล่านี้เป็นผู้อาศัยลาภสักการะ" จึงตรัสว่า " เราไม่เรียกพวกเธอว่า 'คนดี'
เพราะเหตุสักว่าพูดจัดจ้าน,1 ส่วนผู้ใดตัดธรรมมีความริษยาเป็นต้นเหล่านี้
ได้แล้ว ด้วยอรหัตมรรค ผู้นี้แหละชื่อว่าคนดี" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า:-
1. เพราะเหตุสักว่าการกระทำซึ่งคำพูด.

5. น วากฺกรณมตฺเตน วณฺณโปกฺขรตาย วา
สาธุรูโป นโร โหติ อิสฺสุกี มจฺฉรี สโฐ.
ยสฺส เจตํ สมุจฺฉินฺนํ มูลฆจฺจํ สมูหตํ
ส วนฺตโทโส เมธาวี สาธุรูโปติ วุจฺจติ.

"นระผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด
จะชื่อว่าเป็นคนดี เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน
หรือเพราะมีผิวกายงามก็หาไม่, ส่วนผู้ใดตัดโทส-
ชาติ มีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้ราก
ขาด, ผู้นั้นมีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า
'คนดี."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วากฺกรณมตฺเตน ความว่า เพราะ
เหตุสักว่าทำการพูด คือสักว่าถ้อยคำอันถึงพร้อมด้วยลักษณะ. บทว่า
วณฺณโปกฺขรตาย วา คือ เพราะความเป็นผู้ยังใจให้เอิบอาบโดยมีสรีระ
สมบูรณ์ด้วยวรรณะ. บทว่า นโร เป็นต้น ความว่า นระผู้มีใจริษยาใน
เพราะลาภของคนอื่นเป็นต้น ประกอบด้วยความตระหนี่ 5 อย่าง1 ชื่อว่า
ผู้โอ้อวด เพราะคบธรรมฝ่ายข้าศึก จะชื่อว่าคนดี เพราะเหตุเพียงเท่านี้
หามิได้.
สองบทว่า ยสฺส เจตํ เป็นต้น ความว่า ส่วนบุคคลใดตัดโทสชาต
1. ตระหนี่ 5 อย่าง คือ อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล. ลาภมัจฉริยะ
ตระหนี่ลาภ. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม.