เมนู

4. น เตน เถโร โหติ เยนสฺส ปลิตํสิโร
ปริปกฺโก วโย ตสฺส โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ.
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม
ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ.

" บุคคล ไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอกบน
ศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า 'แก่เปล่า,'
(ส่วน) ผู้ใด มีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ
และทมะ, ผู้นั้นมีมลทินอันตายแล้ว ผู้มีปัญญา,
เรากล่าวว่า "เป็นเถระ."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปกฺโก ความว่า อันชราน้อมไป
รอบแล้ว คือถึงความเป็นคนแก่แล้ว . บทว่า โมฆชิณฺโณ ความว่า ชื่อว่า
แก่เปล่า เพราะภายในไม่มีธรรม เครื่องทำให้เป็นเถระ.
บทว่า สจฺจญฺจ ความว่า ก็บุคคลใดมีสัจจะทั้ง 4 เพราะความ
เป็นผู้แทงตลอดด้วยอาการ 16 และมีโลกุตรธรรม 9 อย่าง เพราะความ
เป็นผู้ทำให้แจ้งด้วยญาณ.
คำว่า อหึสา นั่น สักว่าเป็นหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า อัปปมัญญา-
ภาวนาแม้ 4 อย่าง มีอยู่ในผู้ใด. สองบทว่า สญฺญโม ทโม ได้แก่ ศีล
และอินทรียสังวร. บทว่า วนฺตมโล คือ มีมลทินอันนำออกแล้วด้วย
มรรคญาณ. บทว่า ธีโร คือ สมบูรณ์ด้วยปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ. บทว่า

เถโร ความว่า ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " เถระ" เพราะความเป็น
ผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำความเป็นผู้มั่นคงเหล่านั้น.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ จบ.

5. เรื่องภิกษุมากรูป [198]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น วากฺกรณมตฺเต " เป็นต้น.
พระเถระบางพวกอยากได้ลาภสักการะ
ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระเถระบางพวกเห็นภิกษุหนุ่มและ
สามเณรทำการรับใช้ทั้งหลายมีอันย้อมจีวรเป็นต้น แก่อาจารย์ผู้บอก
ธรรมของตนนั่นแล คิดว่า " แม้เราก็ฉลาดในลัทธิพยัญชนะ, ผลอะไร ๆ
ไม่มีแก่เราเลย; ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลอย่างนี้ว่า
' ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในลัทธิพยัญชนะ, ขอ
พระองค์จงบังคับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายว่า ' พวกเธอแม้เรียน
ธรรมในสำนักของอาจารย์อื่นแล้ว ยังไม่สอบทานในสำนักของภิกษุเหล่านี้
แล้ว อย่าสาธยาย,' ลาภสักการะจักเจริญแก่เราทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้
แล." พระเถระเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลอย่างนั้น.
พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงทราบว่า " ใคร ๆ
ก็พูดเช่นนั้นได้ ด้วยสามารถประเพณีในพระศาสนานี้เท่านั้น, แต่ภิกษุ
เหล่านี้เป็นผู้อาศัยลาภสักการะ" จึงตรัสว่า " เราไม่เรียกพวกเธอว่า 'คนดี'
เพราะเหตุสักว่าพูดจัดจ้าน,1 ส่วนผู้ใดตัดธรรมมีความริษยาเป็นต้นเหล่านี้
ได้แล้ว ด้วยอรหัตมรรค ผู้นี้แหละชื่อว่าคนดี" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า:-
1. เพราะเหตุสักว่าการกระทำซึ่งคำพูด.