เมนู

3. น ตาวตา ธมฺมขโร ยาวตา พหุ ภาสติ
โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน ธมฺมํ กาเยน ปสฺสติ
ส เว ธมฺมธโร โหติ โย ธมฺมํ นปฺปมชฺชติ.

บุคคล ไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก;
ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรมด้วย
นามกาย, บุคคลใด ไม่ประมาทธรรม, บุคคลนั้นแล
เป็นผู้ทรงธรรม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่
ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก ด้วยเหตุมีการเรียน และการ
ทรงจำและบอกเป็นต้น. แต่ชื่อว่าตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี.
บทว่า อปฺปมฺปิ เป็นต้น ความว่า ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้มีประมาณ
น้อย อาศัยธรรมะ อาศัยอรรถะ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
กำหนดรู้สัจจะมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมเห็นสัจธรรม 4 ด้วยนามกาย.
ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม.
บาทพระคาถาว่า โย ธมฺมํ นปฺปมชฺชติ ความว่า แม้ผู้ใดเป็นผู้มี
ความเพียรปรารภแล้ว หวังการแทงตลอดอยู่ว่า " (เราจักแทงตลอด)
ในวันนี้ ๆ แล" ชื่อว่าย่อมไม่ประมาทธรรม, แม้ผู้นี้ก็ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
เหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเอกุทานเถระ จบ.

4. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ [197]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระลกุณ-
ฏกภัททิยเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น เตน เถโร โหติ"
เป็นต้น.

พวกภิกษุเห็นพระเถระเข้าใจว่าเป็นสามเณร


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง เมื่อพระเถระนั้นไปสู่ที่บำรุงพระศาสดา
พอหลีกไปแล้ว, ภิกษุผู้อยู่ป่าประมาณ 30 รูป พอเห็นท่านก็มาถวาย
บังคมพระศาสดาแล้วนั่ง พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งพระ-
อรหัตของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามปัญหานี้ว่า " พระเถระองค์หนึ่ง
ไปจากนี้ พวกเธอเห็นไหม ?"
พวกภิกษุ. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. พวกเธอเห็นพระเถระนั้นมิใช่หรือ ?
พวกภิกษุ. เห็นสามเณรรูปหนึ่ง พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นั้นไม่ใช่สามเณร, นั่นเป็นพระเถระ.
พวกภิกษุ. เล็กนัก พระเจ้าข้า.

ลักษณะเถระและมิใช่เถระ


พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกว่า ' เถระ ' เพราะ
ความเป็นคนแก่ เพราะเหตุสักว่านั่งบนอาสนะพระเถระ, ส่วนผู้ใด แทง
ตลอดสัจจะทั้งหลายแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนมหาชน, ผู้นี้
ชื่อว่าเป็นเถระ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-