เมนู

ในขณะนั้นแล เขาได้วิบากที่เห็นสมด้วยกรรม. แม้เขาแลเป็นเหมือนโค
มีสายเลือดไหลออกจากปากเข้าไปในเรือน เที่ยวคลานร้องไป.1

บุตรนายโคฆาตก์หนี


สมัยนั้น บุตรของนายโคฆาตก์ยืนแลดูบิดาอยู่ในที่ใกล้. ลำดับนั้น
มารดาพูดกะเขาว่า " ลูก เจ้าจงดูบิดานี้เที่ยวคลานร้องไปในท่ามกลาง
เรือนเหมือนโค ความทุกข์นี้จักตกบนกระหม่อมของเจ้า, เจ้าไม่ต้องห่วง2
แม้ซึ่งแม่ จงทำความสวัสดีแก่ตนหนีไปเถิด." บุตรนายโคฆาตก์นั้น
ถูกมรณภัยคุกคาม ไหว้มารดาแล้วหนีไป, ก็แลครั้นหนีไปแล้ว ได้ไป
ยังนครตักกสิลา. แม้นายโคฆาตก์เป็นเหมือนโค เที่ยวร้องไปในท่ามกลาง
เรือน ทำกาละแล้วเกิดในอเวจี. แม้โคก็ได้ทำกาละแล้ว. ฝ่ายบุตรของ
นายโคฆาตก์ไปนครตักกสิลา เรียนการงานของนายช่างทอง. ลำดับนั้น
อาจารย์ของเขา เมื่อจะไปบ้านสั่งไว้ว่า " เธอพึงทำเครื่องประดับชื่อเห็น
ปานนี้" แล้วหลีกไป. แม้เขาก็ได้ทำเครื่องประดับเห็นปานนั้นแล้ว.
ลำดับนั้น อาจารย์ของเขามาเห็นเครื่องประดับแล้ว ดำริว่า "ชายผู้นี้
ไปในที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้สามารถจะเลี้ยงชีพได้" จึงได้ให้ธิดาผู้เจริญวัย
ของตน (แก่เขา). เขาเจริญด้วยบุตรธิดาแล้ว.

ลูกทำบุญให้พ่อ


ลำดับนั้น บุตรทั้งหลายของเขาเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะ, ในกาล
ต่อมาไปพระนครสาวัตถี ดำรงฆราวาสอยู่ในพระนครนั้น ได้เป็นผู้มี
ศรัทธาเลื่อมใส. ฝ่ายบิดาของพวกเขาไม่ทำกุศลอะไร ๆ เลย ถึงความชรา
1. ชนฺนุเกหิ วิจรนฺโต เที่ยวไปอยู่ด้วยเข่า. 2. อโนโลเกตฺวา ไม่แลดูแล้ว.

ในนครตักกสิลาแล้ว. ลำดับนั้น พวกบุตรของเขาปรึกษากันว่า " บิดา
ของพวกเราแก่" แล้วให้เรียกมายังสำนักของตน พูดว่า " พวกฉันจะ
ถวายทานเพื่อประโยชน์แก่บิดา " แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน. วันรุ่งขึ้น พวกเขานิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธานให้นั่งภายในเรือนแล้ว อังคาสโดยเคารพ, ในเวลาเสร็จภัตกิจ
กราบทูลพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ถวายภัตนี้ให้เป็น
ชีวภัต (ภัตเพื่อบุคคลผู้เป็นอยู่) เพื่อบิดา. ขอพระองค์จงทรงทำ
อนุโมทนา แก่บิดาของพวกข้าพระองค์เถิด."

พระศาสดาทรงแสดงธรรม


พระศาสดา ตรัสเรียกบิดาของพวกเขามาแล้ว ตรัสว่า " อุบาสก
ท่านเป็นคนแก่ มีสรีระแก่หง่อมเช่นกับใบไม้เหลือง, เสบียงทางคือกุศล
เพื่อจะไปยังปรโลกของท่านยังไม่มี, ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน, จงเป็นบัณฑิต
อย่าเป็นพาล" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา จึงได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า:-
1. ปณฺฑุปลาโสว ทานิสิ
ยมปุริสาปิ จ ตํ1 อุปฏฺฐิตา
อุยฺโยคมุเข จ ติฏฺฐสิ2
ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ.
โส กโรหิ ทีปมตฺตโน
ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว
นิทฺธนฺตมโล อนฺคโณ
ทิพฺพํ อริยภูมิเมหิสิ.

1. อรรถกถา เป็น เต. 2. ปติฏฺฐสิ.