เมนู

1. น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ เยนตฺถํ สหสา นเย
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺทิโต
อสาหเสน ธมฺเมน สเมน นยตี ปเร
ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺจติ.

" บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่นำ
คดีไปโดยความผลุนผลัน; ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต วินิจ-
ฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่าอื่นไป
โดยความละเอียดลออ โดยธรรมสม่ำเสมอ, ผู้นั้น
อันธรรมคุ้นครองแล เป็นผู้ปัญญา เรากล่าวว่า
"ตั้งอยู่ในธรรม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน แปลว่า เพราะเหตุเพียงเท่านั้นเอง.
บทว่า ธมฺมฏฺโฐ ความว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมเครื่องวินิจฉัย ที่
พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายจะพึงทรงกระทำด้วยพระองค์ ไม่เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่
ในธรรม. บทว่า เยน แปลว่า เพราะเหตุใด.
บทว่า อตฺถํ ความว่า ซึ่งคดีที่หยั่งลงแล้วอันควรตัดสิน.
สองบทว่า สหสา นเย ความว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอคติ1มีฉันทาคติ
เป็นต้น ตัดสินโดยผลุนผลัน คือโดยกล่าวเท็จ. อธิบายว่า จริงอยู่ ผู้ใด
ตั้งอยู่ในความพอใจ กล่าวมุสาวาท ย่อมทำญาติหรือมิตรของตนซึ่งมิใช่
เจ้าของนั่นแลให้เป็นเจ้าของ, ตั้งอยู่ในความชัง กล่าวเท็จ ย่อมทำคน
ที่เป็นศัตรูของตนซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงไม่ให้เป็นเจ้าของ, ตั้งอยู่ในความ
1. อคติ 4 คือ 1. ฉันทาคติ 2. โทสาคติ 3. โมหาคติ 4. ภยาคติ.

หลง รับสินบนแล้วในเวลาตัดสิน ทำเป็นเหมือนส่งจิตไปในที่อื่น แลดู
ข้างโน้นและข้างนี้ กล่าวเท็จ ย่อมนำบุคคลอื่นออกด้วยคำว่า " ผู้นี้ชำนะ,
ผู้นี้แพ้," ตั้งอยู่ในความกลัว ย่อมยกความชำนะให้ผู้เป็นใหญ่บางคนนั่นแล
แม้ที่ถึงความแพ้; ผู้นี้ ชื่อว่าย่อมนำคดีไปโดยความผลุนผลัน. ผู้นั้นไม่เป็น
ผู้ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม.
บาทพระคาถาว่า โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ ความว่า ซึ่งเหตุที่จริง
และไม่จริง. สองบทว่า อุโภ นิจฺเฉยฺย ความว่า ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต
วินิจฉัยเหตุที่เป็นคดีและไม่เป็นคดีทั้งสองแล้วย่อมกล่าว.
บทว่า อสาหเสน คือ โดยไม่กล่าวเท็จ. ว่า ธมฺเมน แปลว่า
โดยธรรมเครื่องวินิจฉัย คือหาใช่โดยอำนาจอคติ มีฉันทาคติเป็นต้นไม่
บทว่า สเมน คือ ย่อมนำบุคคลเหล่าอื่นไป คือให้ถึงความชำนะหรือ
ความแพ้โดยสมควรแก่ความผิดนั่นเอง.
สองบทว่า ธมฺมสฺส คุตฺโต ความว่า ผู้นั้นอันธรรมคุ้มครองแล้ว
คืออันธรรมรักษาแล้ว ประกอบแล้วด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ชื่อว่า
มีปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ผู้ตั้งอยู่ในธรรม" เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่
ในธรรมเครื่องวินิจฉัย.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย จบ.

2. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [195]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน ปณฺฑิโต โหติ " เป็นต้น.

ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำโรงภัตให้อากูล


ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวทำโรงภัตให้อากูลในวัดบ้าง ในบ้านบ้าง.
ครั้นวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายถามภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้ทำภัตกิจในบ้าน
แล้วมา ว่า " ท่านผู้มีอายุ โรงภัตเป็นเช่นไร ?" ภิกษุหนุ่มและสามเณร
ตอบว่า " อย่าถามเลย ขอรับ," พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ กล่าวว่า ' พวกเรา
แหละเป็นผู้ฉลาด, พวกเราเป็นบัณฑิต จักประหารภิกษุเหล่านี้ โปรย
หยากเยื่อที่ศีรษะแล้วนำออกไป ' แล้วจับหลังพวกกระผมโปรยหยากเยื่อ
อยู่ ทำโรงภัตให้อากูล." ภิกษุทั้งหลาย ไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว กราบ
ทูลความนั้น.

ลักษณะบัณฑิตและไม่ใช่บัณฑิต


พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกคนพูดมาก
เบียดเบียนผู้อื่นว่า ' เป็นบัณฑิต,' แต่เราเรียกคนที่มีความเกษม ไม่มีเวร
ไม่มีภัยเลยว่า " เป็นบัณฑิต " ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
2. น เตน ปณฺฑิโต โหติ ยาวตา พหุ ภาสติ
เขมี อเวรี อภโย ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.

"บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุเพียงพูด
มาก; (ส่วน) ผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย เรา
กล่าวว่า เป็นบัณฑิต."