เมนู

1. น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ เยนตฺถํ สหสา นเย
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺทิโต
อสาหเสน ธมฺเมน สเมน นยตี ปเร
ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺจติ.

" บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่นำ
คดีไปโดยความผลุนผลัน; ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต วินิจ-
ฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่าอื่นไป
โดยความละเอียดลออ โดยธรรมสม่ำเสมอ, ผู้นั้น
อันธรรมคุ้นครองแล เป็นผู้ปัญญา เรากล่าวว่า
"ตั้งอยู่ในธรรม."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน แปลว่า เพราะเหตุเพียงเท่านั้นเอง.
บทว่า ธมฺมฏฺโฐ ความว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมเครื่องวินิจฉัย ที่
พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายจะพึงทรงกระทำด้วยพระองค์ ไม่เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่
ในธรรม. บทว่า เยน แปลว่า เพราะเหตุใด.
บทว่า อตฺถํ ความว่า ซึ่งคดีที่หยั่งลงแล้วอันควรตัดสิน.
สองบทว่า สหสา นเย ความว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอคติ1มีฉันทาคติ
เป็นต้น ตัดสินโดยผลุนผลัน คือโดยกล่าวเท็จ. อธิบายว่า จริงอยู่ ผู้ใด
ตั้งอยู่ในความพอใจ กล่าวมุสาวาท ย่อมทำญาติหรือมิตรของตนซึ่งมิใช่
เจ้าของนั่นแลให้เป็นเจ้าของ, ตั้งอยู่ในความชัง กล่าวเท็จ ย่อมทำคน
ที่เป็นศัตรูของตนซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงไม่ให้เป็นเจ้าของ, ตั้งอยู่ในความ
1. อคติ 4 คือ 1. ฉันทาคติ 2. โทสาคติ 3. โมหาคติ 4. ภยาคติ.