เมนู

พระศาสดาทรงแก้ปัญหาของสุภัททะ


ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสบอกความไม่มีแห่งรอยเท้า
ในอากาศเป็นต้นเหล่านั้นแก่เขา จึงทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาเหล่านั้น
ว่า:-
12. อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร
ปปญฺจาภิรตา ปชา นิปฺปปญฺจา ตถาคตา.
อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร
สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ.

"รอยเท้าในอากาศนั่นเทียว ไม่มี; สมณะภาย
นอก ไม่มี; หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่อง
เนิ่นช้า, พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า
รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี, สมณะภายนอก
ไม่มี, สังขารทั้งหลาย (ชื่อว่า) เที่ยง ไม่มี, กิเลสชาต
เครื่องหวั่นไหว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทํ ความว่า ชื่อว่ารอยเท้าแห่งสัตว์ไร ๆ
อันบุคคลพึงบัญญัติว่า " มีรูปอย่างนี้" ด้วยสามารถแห่งสีและสัณฐาน
ในอากาศนี้ ไม่มี.
บทว่า พาหิโร ความว่า ชื่อว่าสมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผล
ภายนอกแต่ศาสนาของเรา ไม่มี.
บทว่า ปชา ความว่า หมู่สัตว์ กล่าวคือสัตวโลกนี้ ยินดียิ่งแล้ว
ในธรรมเครื่องเนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้นเท่านั้น.

บทว่า นิปฺปปญฺจา ความว่า ส่วนพระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้ชื่อว่า
ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะความที่พระองค์ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า
ทั้งปวงได้ขาดแล้ว ที่ควงแห่งไม้โพธิ์นั่นแล.
ขันธ์ 5 ชื่อว่าสังขาร, ในขันธ์ 5 เหล่านั้น ขันธ์อย่างหนึ่งชื่อว่า
เที่ยง ไม่มี.
บทว่า อิญฺชิตํ ความว่า ก็ชนทั้งหลายพึงถือเอาว่า " สังขารทั้งหลาย
เป็นสภาพเที่ยง" ด้วยบรรดากิเลสชาตเครื่องหวั่นไหว คือตัณหามานะ
และทิฏฐิอันใด, แม้กิเลสชาตเครื่องหวั่นไหว้นั้นอย่างหนึ่งมิได้มีแก่พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย.
ในเวลาจบเทศนา สุภัททปริพาชกตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล. พระ-
ธรรมเทศนา ได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องสุภัททปริพาชก จบ.
มลวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 18 จบ.

คาถาธรรมบท



ธัมมัฏฐวรรคที่ 19

1

ว่าด้วยอรรถกถาคดีที่ชอบธรรมของนักปราชญ์



[29] 1. บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่
นำคดีไปโดยความผลุนผลัน ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต
วินิจฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่า
อื่นรูปโดยความละเอียดลออ โดยธรรมสม่ำเสมอ
ผู้นั้นอันธรรมคุ้มครองแล้ว เป็นผู้มีปัญญา เรากล่าว
ว่าตั้งอยู่ในธรรม.

2. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุเพียง
พูดมาก (ส่วน) ผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย
เรากล่าวว่า เป็นบัณฑิต.

3. บุคคลไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูด
มาก ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรม
ด้วยนามกาย บุคคลใดไม่ประมาทธรรม บุคคลนั้น
แลเป็นผู้ทรงธรรม.

4. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอก
บนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า แก่เปล่า
(ส่วน) ผู้ใดมีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และ
ทมะ ผู้นั้นแล ผู้มีมลทินอันคายแล้ว ผู้มีปัญญา
เรากล่าวว่า เป็นเถระ.

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 10 เรื่อง.