เมนู

12. เรื่องสุภัททปริพาชก [193]



ข้อความเบื้องต้น



พระศาสดา ผทมแล้วบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน ในสาลวัน
ของเจ้ามัลละทั้งหลาย อันเป็นที่แวะพัก ใกล้พระนครกุสินารา ทรง
ปรารภปริพาชกชื่อว่าสุภัททะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อากาเสว ปทํ
นตฺถิ"
เป็นต้น.

บุรพกรรมของสุภัททะ


ได้ยินว่า ในอดีตกาล สุภัททปริพชกนั้น เมื่อน้องชายให้ทานอัน
เลิศถึง 9 ครั้ง ในเพราะข้าวกล้าครั้งหนึ่ง, ไม่ปรารถนาเพื่อจะให้ ท้อถอย
แล้ว ได้ให้ในกาลเป็นที่สุด.
เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ทั้งในปฐมโพธิกาล
ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล, แต่ว่าในปัจฉิมโพธิกาล ในเวลาเป็นที่ปรินิพพาน
แห่งพระศาสดา คิดว่า "เราถามความสงสัยของตน ในปัญหา 3 ข้อ
กะปริพาชกทั้งหลายซึ่งเป็นคนแก่ ไม่ถามกะพระสมณโคดม ด้วยความ
สำคัญว่า ' เป็นเด็ก,' ก็บัดนี้ เป็นกาลปรินิพพานของพระสมณโคดมนั้น,
วิปฏิสารพึงบังเกิดแก่เราในภายหลัง เพราะเหตุไม่ถามพระสมณโคดม"
แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แม้ถูกพระอานนทเถระห้ามอยู่ เข้าไปแล้วสู่
ภายในม่าน เพราะความที่พระศาสดาทรงกระทำโอกาสแล้ว ตรัสว่า
"อานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะเลย, สุภัททะจงถามปัญหากะเรา" จึงนั่ง
ใกล้ข่างล่างเตียงทูลถามปัญหาเหล่านี้ว่า " ข้าแต่พระสมณะผู้เจริญ ชื่อว่า
รอยเท้าในอากาศ มีอยู่หรือหนอแล ? ชื่อว่าสมณะภายนอกแต่ศาสนานี้
มีอยู่หรือ ? สังขารทั้งหลายชื่อว่าเที่ยง มีอยู่หรือ ? "

พระศาสดาทรงแก้ปัญหาของสุภัททะ


ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสบอกความไม่มีแห่งรอยเท้า
ในอากาศเป็นต้นเหล่านั้นแก่เขา จึงทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาเหล่านั้น
ว่า:-
12. อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร
ปปญฺจาภิรตา ปชา นิปฺปปญฺจา ตถาคตา.
อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร
สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ.

"รอยเท้าในอากาศนั่นเทียว ไม่มี; สมณะภาย
นอก ไม่มี; หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่อง
เนิ่นช้า, พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า
รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี, สมณะภายนอก
ไม่มี, สังขารทั้งหลาย (ชื่อว่า) เที่ยง ไม่มี, กิเลสชาต
เครื่องหวั่นไหว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทํ ความว่า ชื่อว่ารอยเท้าแห่งสัตว์ไร ๆ
อันบุคคลพึงบัญญัติว่า " มีรูปอย่างนี้" ด้วยสามารถแห่งสีและสัณฐาน
ในอากาศนี้ ไม่มี.
บทว่า พาหิโร ความว่า ชื่อว่าสมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผล
ภายนอกแต่ศาสนาของเรา ไม่มี.
บทว่า ปชา ความว่า หมู่สัตว์ กล่าวคือสัตวโลกนี้ ยินดียิ่งแล้ว
ในธรรมเครื่องเนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้นเท่านั้น.