เมนู

อยู่ว่า " คฤหบดี ท่านเป็นผู้กิริยวาทะ1 จะไปสู่สำนักของพระสมณโคดม
ผู้เป็นอกิริยวาทะ3 เพราะเหตุไร ? ก็มิได้เชื่อถ้อยคำของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น
เทียว ไปแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.

โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอนุบุพพีกถาแก่เศรษฐีนั้น. ในเวลาจบ
เทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลความที่ตนถูกพวก
เดียรถีย์กล่าวโทษแล้วห้ามไว้แด่พระศาสดา. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะ
ท่านเศรษฐีนั้นว่า " คฤหบดี ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นย่อมไม่เห็นโทษของตน
แม้มาก, ย่อมโปรยโทษของชนเหล่าอื่นแม้ไม่มีอยู่กระทำให้มี ราวกะบุคคล
โปรยแกลบขึ้นในที่นั้น ๆ ฉะนั้น " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
10. สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ
อตฺตโน ปน ฉาเหติ กลึว กิตวา สโฐ.

"โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, ฝ่ายโทษ
ของตนเห็นได้ยาก; เพราะว่า บุคคลนั้น ย่อมโปรย
โทษของบุคคลเหล่าอื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ,
แต่ว่าย่อมปกปิด (โทษ) ของตน เหมือนพรานนก
ปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทสฺสํ ความว่า โทษคือความพลั้ง-
1. ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว ชื่อว่าเป็นอันทำ. 2. ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว
ว่า ไม่เป็นอันทำ.

พลาดของบุคคลอื่น แม้มีประมาณน้อย อันบุคคลเห็นได้ง่าย คืออาจเพื่อ
จะเห็นได้โดยง่ายทีเดียว, ส่วนโทษของตน แม้ใหญ่ยิ่งอันบุคคลเห็นได้ยาก.
บทว่า ปเรสํ หิ ความว่า เพราะเหตุนั้นนั่นแล บุคคลนั้นย่อม
โปรยโทษทั้งหลายของชนเหล่าอื่นในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น เหมือนบุคคล
ยืนบนที่สูงแล้วโปรยแกลบลงอยู่ฉะนั้น.
อัตภาพชื่อว่า กลิ ด้วยสามารถที่ประพฤติผิดในนกทั้งหลาย ในคำ
ว่า กลึว กิตวา สโฐ1 นี้.
เครื่องปกปิด มีกิ่งไม้ที่พอหักได้เป็นต้น ชื่อว่า กิตวา (ในคำว่า
" กิตวา" นี้ ).
นายพราน ชื่อว่า สโฐ (ในคำว่า "สโฐ" นี้.) อธิบายว่า
นายพรานนกประสงค์จะจับนกฆ่า ย่อมปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิด
ฉันใด, บุคคลย่อมปกปิดโทษของตนฉันนั้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องเมณฑกเศรษฐี จบ.
1. แก้อรรถตอนนี้ บางอาจารย์เห็นว่าใช้วินิจฉัย.

11. เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ [192]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
รูปหนึ่งชื่อ อุชฌานสัญญี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปรวชฺชานุ-
ปสฺสิสฺส" เป็นต้น.

คุณวิเศษให้เกิดแก่ผู้เพ่งโทษผู้อื่น


ได้ยินว่า พระเถระนั้นเที่ยวแส่หาแต่โทษของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น
ว่า " ภิกษุนี้ ย่อมนุ่งอย่างนี้, ภิกษุนี้ ย่อมห่มอย่างนี้." พวกภิกษุ
กราบทูลแด่พระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระชื่อโน้น ย่อม
กระทำอย่างนี้."
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในข้อวัตรกล่าว
สอนอยู่อย่างนี้ ใคร ๆ ไม่ควรติเตียน, ส่วนภิกษุใด แสวงหาโทษของ
ชนเหล่าอื่น เพราะความมุ่งหมายในอันยกโทษ กล่าวอย่างนี้แล้วเที่ยวไป
อยู่, บรรดาคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น คุณวิเศษแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิด
ขึ้นแก่ภิกษุนั้น. อาสวะทั้งหลายเท่านั้น ย่อมเจริญอย่างเดียว" ดังนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
11. ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.

"อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอย
ดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยกโทษ
เป็นนิตย์, บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ."