เมนู

อยู่ว่า " คฤหบดี ท่านเป็นผู้กิริยวาทะ1 จะไปสู่สำนักของพระสมณโคดม
ผู้เป็นอกิริยวาทะ3 เพราะเหตุไร ? ก็มิได้เชื่อถ้อยคำของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น
เทียว ไปแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.

โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอนุบุพพีกถาแก่เศรษฐีนั้น. ในเวลาจบ
เทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลความที่ตนถูกพวก
เดียรถีย์กล่าวโทษแล้วห้ามไว้แด่พระศาสดา. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะ
ท่านเศรษฐีนั้นว่า " คฤหบดี ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นย่อมไม่เห็นโทษของตน
แม้มาก, ย่อมโปรยโทษของชนเหล่าอื่นแม้ไม่มีอยู่กระทำให้มี ราวกะบุคคล
โปรยแกลบขึ้นในที่นั้น ๆ ฉะนั้น " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
10. สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ
อตฺตโน ปน ฉาเหติ กลึว กิตวา สโฐ.

"โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, ฝ่ายโทษ
ของตนเห็นได้ยาก; เพราะว่า บุคคลนั้น ย่อมโปรย
โทษของบุคคลเหล่าอื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ,
แต่ว่าย่อมปกปิด (โทษ) ของตน เหมือนพรานนก
ปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทสฺสํ ความว่า โทษคือความพลั้ง-
1. ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว ชื่อว่าเป็นอันทำ. 2. ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว
ว่า ไม่เป็นอันทำ.