เมนู

พระศาสดาทรงยกย่องพระธรรมทินนาเถรี


พระศาสดาตรัสว่า " ธรรมทินนาธิดาของเรากล่าวดีแล้ว, ด้วยเรา
เมื่อจะแก้ปัญหานั่น ก็จะพึงแก้อย่างนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว เมื่อ
จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
37. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ มชฺเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ความกังวลในก่อน ในภายหลัง และในท่าม
กลาง ของผู้ใดไม่มี. เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความ
กังวล ไม่มีความยึดมั่นว่า เป็นพราหมณ์"

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุเร ความว่า ในขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นอดีต.
บทว่า ปจฺฉา คือ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคต.
บทว่า มชฺเฌ ได้แก่ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน.
สองบทว่า นตฺถิ กิญฺจนํ เป็นต้น ความว่า ความกังวลกล่าวคือ
ความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ 3 เหล่านั้น ของผู้ใดไม่มี, เราเรียกผู้นั้น
ซึ่งไม่มีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลคือราคะเป็นต้น ผู้ชื่อว่าไม่มีความ
ยึดมั่น เพราะไม่มีความยึดถืออะไร ๆ ว่า เป็นพราหมณ์.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระธรรมทินนาเถรี จบ.

38. เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ [301]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอังคุลิมาล
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุสภํ " เป็นต้น.

พระอังคุลิมาลไม่กลัวช้าง


เรื่องข้าพเจ้ากล่าว ไว้ในคาถาวรรณนาว่า " น เว กทริยา เทวโลกํ
วชนฺติ "
เป็นต้นนั่นแล.
จริงอยู่ ในที่นั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า " ภิกษุทั้งหลายถามพระอังคุลิมาล
ว่า " ผู้มีอายุ ท่านเห็นช้างตัวดุร้าย ยืนกั้นฉัตรอยู่แล้ว ไม่กลัวหรือหนอ ? "
พระอังคุลิมาลตอบว่า " ไม่กลัว ผู้มีอายุ."
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลพระศาสดา " พระเจ้าข้า พระอังคุลิมาล
พยากรณ์พระอรหัตด้วยคำไม่จริง."
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย อังคุลิมาลบุตรของเราย่อมไม่
กลัว, เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายเช่นกับบุตรของเรา ผู้องอาจที่สุดในระหว่าง
พระขีณาสพผู้องอาจทั้งหลาย ย่อมไม่กลัว " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้
ในพราหมณวรรคว่า:-
38. อุสภํ ปวรํ วีรํ มเหสึ วิชิตาวินํ
อเนชํ นฺหาตกํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหมณํ.
" เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า
แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้ชนะโดยวิเศษ ไม่หวั่นไหว
ผู้ล้างแล้ว ผู้รู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."