เมนู

พระศาสดาทรงยกย่องพระธรรมทินนาเถรี


พระศาสดาตรัสว่า " ธรรมทินนาธิดาของเรากล่าวดีแล้ว, ด้วยเรา
เมื่อจะแก้ปัญหานั่น ก็จะพึงแก้อย่างนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว เมื่อ
จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
37. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ มชฺเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ความกังวลในก่อน ในภายหลัง และในท่าม
กลาง ของผู้ใดไม่มี. เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความ
กังวล ไม่มีความยึดมั่นว่า เป็นพราหมณ์"

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุเร ความว่า ในขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นอดีต.
บทว่า ปจฺฉา คือ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคต.
บทว่า มชฺเฌ ได้แก่ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน.
สองบทว่า นตฺถิ กิญฺจนํ เป็นต้น ความว่า ความกังวลกล่าวคือ
ความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ 3 เหล่านั้น ของผู้ใดไม่มี, เราเรียกผู้นั้น
ซึ่งไม่มีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลคือราคะเป็นต้น ผู้ชื่อว่าไม่มีความ
ยึดมั่น เพราะไม่มีความยึดถืออะไร ๆ ว่า เป็นพราหมณ์.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระธรรมทินนาเถรี จบ.