เมนู

ธรรมทินนา. ใครจักรับน้ำลายที่ท่านบ้วนทิ้ง, เมื่อเป็นเช่นนั้น
ท่านก็จงอนุญาตการบวชแก่ดิฉันเถิด.
อุบาสกนั้น รับว่า " ดีละ นางผู้เจริญ " แล้วนำนางไปสู่สำนัก
ภิกษุณีด้วยสักการะเป็นอันมาก ให้บวชแล้ว. นางได้อุปสมบทแล้ว
ได้มีชื่อว่า ธรรมทินนาเถรี.

วิสาขอุบาสกถามปัญหาในมรรคกะพระเถรี


นางไปสู่ชนบทกับภิกษุณีทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ประสงค์วิเวก
เมื่ออยู่ในชนบทนั้นไม่นานเท่าไร ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ทั้งหลาย กลับมาสู่กรุงราชคฤห์อย่างเดิมอีก ด้วยคิดว่า " บัดนี้ พวกชน
ผู้เป็นญาติอาศัยเราแล้ว จักทำบุญทั้งหลาย."
อุบาสก ได้ทราบความที่พระเถรีมาแล้ว คิดว่า " พระเถรีมา
เพราะเหตุไรหนอ ?" จึงไปสู่สำนักภิกษุณี ไหว้พระเถรีแล้วนั่ง ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง คิดว่า " การที่เราจะพูดว่า ' แม่เจ้า ท่านกระสันหรือหนอ '
ดังนี้ ก็เป็นการไม่สมควร, เราจักถามปัญหาสักข้อหนึ่งกะพระเถรีนั้น "
แล้วถามปัญหาในโสดาปัตติมรรค. พระเถรี เฉลยปัญหาข้อนั้นได้. อุบาสก
จึงถามปัญหาแม้ในมรรคที่เหลือ โดยอุบายนั้นนั่นแล เมื่อพระเถรีนั้น
กล่าวในเวลาปัญหาอันอุบาสกนั้นถามก้าวล่วง (วิสัย) ว่า " วิสาขะผู้มีอายุ
ท่านแล่นเลย (วิสัย) ไปแล" แล้วกล่าวว่า " เมื่อท่านจำนง ก็พึงเข้าไป
เฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามปัญหานี้" ไหว้พระเถรีแล้ว ลุกจากอาสนะ
ไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลการสนทนาปราศรัยนั้นทั้งหมด แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.

พระศาสดาทรงยกย่องพระธรรมทินนาเถรี


พระศาสดาตรัสว่า " ธรรมทินนาธิดาของเรากล่าวดีแล้ว, ด้วยเรา
เมื่อจะแก้ปัญหานั่น ก็จะพึงแก้อย่างนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว เมื่อ
จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
37. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ มชฺเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ความกังวลในก่อน ในภายหลัง และในท่าม
กลาง ของผู้ใดไม่มี. เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความ
กังวล ไม่มีความยึดมั่นว่า เป็นพราหมณ์"

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุเร ความว่า ในขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นอดีต.
บทว่า ปจฺฉา คือ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคต.
บทว่า มชฺเฌ ได้แก่ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน.
สองบทว่า นตฺถิ กิญฺจนํ เป็นต้น ความว่า ความกังวลกล่าวคือ
ความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ 3 เหล่านั้น ของผู้ใดไม่มี, เราเรียกผู้นั้น
ซึ่งไม่มีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลคือราคะเป็นต้น ผู้ชื่อว่าไม่มีความ
ยึดมั่น เพราะไม่มีความยึดถืออะไร ๆ ว่า เป็นพราหมณ์.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระธรรมทินนาเถรี จบ.