เมนู

พวกภิกษุได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า
พระวังคีสเถระนี้ พยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยคำไม่จริง."
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวอย่างนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้บุตรของเราฉลาดในการจุติและปฏิสนธิแล้ว " ดังนี้
แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
36. จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส
อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
ยสฺส คตึ น ชานนฺติ เทวา คนฺธพฺพมานุสา
ขีณาสวํ อรหนฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใด รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายโดยประ-
การทั้งปวง, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่ข้อง ไปดี รู้แล้ว;
ว่าเป็นพราหมณ์. เทพยดา คนธรรพ์และหมู่มนุษย์
ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีอาสวะสิ้น
แล้ว ผู้ไกลกิเลสว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย เวทิ เป็นต้น ความว่า ผู้ใด
รู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงอย่างแจ้งชัด1, เรา
เรียกบุคคลผู้นั้น ซึ่งชื่อว่า ไม่ข้อง เพราะความเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง ชื่อว่า
ไปดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ไปดีแล้วด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่าผู้รู้แล้ว เพราะ
ความเป็นผู้รู้สัจจะทั้ง 4 ว่า เป็นพราหมณ์.
1. ปากฏํ กตฺวา ทำให้ปรากฏ.

บทว่า "ยสฺส เป็นต้น ความว่า เทพดาเป็นต้นเหล่านั้น ไม่รู้คติ
ของผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งชื่อว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะความที่
อาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว ชื่อว่า ผู้ไกลกิเลส เพราะความเป็นผู้ห่างไกล
จากกิเลสทั้งหลายว่า เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระวังคีสเถระ จบ.

37. เรื่องพระธรรมทินนาเถรี [300]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุณีชื่อ
ธรรมทินนา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส ปุเร จ " เป็นต้น.

วิสาขอุบาสกบรรลุอนาคามิผล


ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ในเวลานางเป็นคฤหัสถ์ วิสาขอุบาสก
ผู้เป็นสามี ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา บรรลุอนาคามิผลแล้วคิดว่า
" การที่เราให้นางธรรมทินนารับทรัพย์สมบัติทั้งปวง ควร;" ในกาลก่อน
แต่นั้น อุบาสกนั้นเมื่อมา เห็นนางธรรมทินนาผู้แลดูอยู่ทางหน้าต่าง
ย่อมทำความยิ้มแย้ม. แต่ในวันนั้น ไม่แลดูนางผู้ยืนอยู่ที่หน้าต่างเลย
ได้ไปแล้ว.
นางคิดว่า " นี้เรื่องอะไรกันหนอ ? คิดว่า ' ข้อนั้นจงยกไว้,
เราจักรู้ในเวลาบริโภค" แล้วนำภัตเข้าไปในเวลาบริโภค.
ในวันอื่น ๆ อุบาสกนั้นพูดว่า " มาเถิด, เราบริโภคด้วยกัน. แต่
ในวันนั้น เป็นผู้นิ่งเฉย บริโภคแล้ว. นางคิดว่า " สามีคงจักโกรธด้วย
เหตุอะไร ๆ แน่นอน."
ครั้งนั้น. วิสาขอุบาสกเรียกนางในเวลานั่งตามสบายมาแล้ว กล่าว
กะนางว่า " ธรรมทินนา หล่อนจงรับทรัพย์สมบัติทั้งปวงในเรือนนี้เถิด."
นางคิดว่า " ธรรมดาว่า คนทั้งหลายโกรธแล้วย่อมไม่ให้ใครรับทรัพย์
สมบัติ, นี่เรื่องอะไรกันหนอ ?" จึงกล่าวว่า " นาย ก็ท่านเล่า ? "
อุบาสก. จำเดิมแต่นี้ ฉันจักไม่จัดแจงอะไร ๆ.