เมนู

เศรษฐีและคณะไปเกิดที่ภัททิยนคร


เศรษฐีนั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยว
อยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสกุลเศรษฐี
ในภัททิยนคร. แม้ภรรยาของเขาบังเกิดในสกุลมีโภคะมาก เจริญวัยแล้ว
ก็ได้ไปสู่เรือนของท่านเศรษฐีนั้นนั่นเอง. แพะทั้งหลายมีประการดังกล่าว
แล้ว อาศัยกรรมในกาลก่อนของเศรษฐีนั้นผุดขึ้นแล้วที่ภายหลังเรือน,
แม้บุตรก็ได้เป็นบุตรของท่านเหล่านั้นแหละ, หญิงสะใภ้ก็ได้เป็นหญิง
สะใภ้เหมือนกัน, ทาสก็ได้เป็นทาสเทียว. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเศรษฐีใคร่
จะทดลองบุญของตน จึงให้คนชำระฉาง 1,250 ฉาง สนานศีรษะแล้ว
นั่งที่ประตู แหงนดูเบื้องบน. ฉางแม้ทั้งหมดเต็มแล้วด้วยข้าวสาลีแดง
มีประการดังกล่าวแล้ว. เศรษฐีนั้นใคร่จะทดลองบุญแม้ของชนที่เหลือ
จึงกล่าวกะภรรยาและบุตรเป็นต้นว่า "เธอทั้งหลาย จงทดลองบุญแม้ของ
พวกเธอเถิด." ลำดับนั้น ภรรยาของเศรษฐีนั้น ประดับแล้วด้วยเครื่อง
อลังการทั้งปวง, เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่นั้นแล, ใช้ให้คนตวงข้าวสาร
ทั้งหลาย ให้หุงข้าวสวยด้วยข้าวสารเหล่านั้น นั่งบนอาสนะอันเขาปูลาด
แล้วที่ซุ้มประตู ถือทัพพีทองคำแล้วให้ป่าวร้องว่า "ผู้มีความต้องการด้วย
ภัตจงมา แล้วได้ให้จนเดิมภาชนะที่ชนผู้มาแล้ว ๆ รับเอา. เมื่อนาง
นั้นให้อยู่แม้จนหมดวัน ก็ปรากฏเฉพาะตรงที่ ตักด้วยทัพพีเท่านั้น. ก็
ปทุมลักษณะเกิดเต็มฝ่ามือข้างซ้าย, จันทรลักษณะเกิดเต็มฝ่ามือข้างขวา,
เพราะนางจับหม้อข้าวด้วยมือซ้าย จับทัพพีด้วยมือขวา แล้วถวายภัตจน
เต็มบาตรของภิกษุสงฆ์ แม้ของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ด้วย
ประการดังนี้แล. ก็เพราะเหตุที่นางถืออาธมกรกกรองน้ำถวายแก่ภิกษุสงฆ์

เที่ยวไป ๆ มา ๆ; ฉะนั้นจันทรลักษณะจึงเกิดเต็มฝ่าเท้าเบื้องขวาของนาง,
ปทุมลักษณะจึงเกิดจนเต็มฝ่าเท้าเบื้องซ้ายของนางนั้น. เพราะเหตุนี้
ญาติทั้งหลายจึงขนานนามของนางว่า " จันทปทุมา."1
แม้บุตรของเศรษฐีนั้น สนานศีรษะแล้ว ถือเอาถุงกหาปณะพันหนึ่ง
กล่าวว่า " ผู้มีความต้องการด้วยกหาปณะทั้งหลายจงมา" แล้วได้ให้จน
เต็มภาชนะที่ชนผู้มาแล้ว ๆ รับเอา. กหาปณะพันหนึ่งก็คงมีอยู่ในถุงนั่น
เอง. แม้ลูกสะใภ้ของเศรษฐีนั้น ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ถือ
เอากระบุงข้าวเปลือกแล้ว นั่งที่กลางแจ้ง กล่าวว่า " ผู้มีความต้องการ
ด้วยภัตอันเป็นพืช จงมา" แล้วได้ให้จนเต็มภาชนะที่ชนผู้มาแล้ว ๆ
รับเอา. กระบุง (ข้าวเปลือก) ก็คงเต็มอยู่ตามเดิมนั่นเอง. แม้ทาสของ
เศรษฐีนั้น ประดับแล้วด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เทียมโคทั้งหลายที่
แอกทองคำด้วยเชือกทองคำถือเอาด้ามปฏักทองคำ ให้ของหอมอันบุคคล
พึงเจิมด้วยนิ้วทั้ง 5 แก่โดยทั้งหลาย สวมปลอกทองคำที่เขาทั้งหลาย ไปสู่
นาแล้วขับไป. รอย 7 รอยคือ " ข้างนี้ 3 รอย ข้างโน้น 3 รอย ใน
ท่ามกลาง 1 รอย " ได้แตกแยกกันไปแล้ว. ชาวชมพูทวีปถือเอาสิ่งของ
บรรดาภัต พืช เงินทองเป็นต้น ตามที่ตนชอบใจจากเรือนของเศรษฐี
เท่านั้น.
เศรษฐีผู้มีอานุภาพมากอย่างนั้น สดับว่า " ได้ยินว่า พระศาสดา
เสด็จมาแล้ว" จึงคิดว่า " เราจักกระทำการรับเสด็จพระศาสดา" ออก
ไปอยู่ พบพวกเดียรถีย์ในระหว่างทาง, แม้ถูกพวกเดียรถีย์เหล่านั้นห้าม
1. หมายความว่า มีลักษณะเหมือนพระจันทร์และดอกปทุม.

อยู่ว่า " คฤหบดี ท่านเป็นผู้กิริยวาทะ1 จะไปสู่สำนักของพระสมณโคดม
ผู้เป็นอกิริยวาทะ3 เพราะเหตุไร ? ก็มิได้เชื่อถ้อยคำของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น
เทียว ไปแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.

โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอนุบุพพีกถาแก่เศรษฐีนั้น. ในเวลาจบ
เทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลความที่ตนถูกพวก
เดียรถีย์กล่าวโทษแล้วห้ามไว้แด่พระศาสดา. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะ
ท่านเศรษฐีนั้นว่า " คฤหบดี ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นย่อมไม่เห็นโทษของตน
แม้มาก, ย่อมโปรยโทษของชนเหล่าอื่นแม้ไม่มีอยู่กระทำให้มี ราวกะบุคคล
โปรยแกลบขึ้นในที่นั้น ๆ ฉะนั้น " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
10. สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ
อตฺตโน ปน ฉาเหติ กลึว กิตวา สโฐ.

"โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, ฝ่ายโทษ
ของตนเห็นได้ยาก; เพราะว่า บุคคลนั้น ย่อมโปรย
โทษของบุคคลเหล่าอื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ,
แต่ว่าย่อมปกปิด (โทษ) ของตน เหมือนพรานนก
ปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทสฺสํ ความว่า โทษคือความพลั้ง-
1. ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว ชื่อว่าเป็นอันทำ. 2. ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว
ว่า ไม่เป็นอันทำ.