เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มานุสกํ โยคํ ได้แก่ อายุและ
กามคุณทั้ง 5 อันเป็นของมนุษย์. แม้ในกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุปจฺจคา เป็นต้น ความว่า ผู้ใดละกิเลสเครื่องประกอบ
อันเป็นของมนุษย์ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้แล้ว,
เราเรียกผู้นั้น ซึ่งพรากกิเลสเครื่องประกอบทั้งหมดแม้ 4 อย่างใดแล้วว่า
เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ 1 จบ.

35. เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ 2 [298]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เคยเป็น
นักฟ้อนเหมือนกันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หิตฺวา รติญฺจ "
เป็นต้น.

พราหมณ์ละความยินดีและไม่ยินดีได้


เรื่องเป็นเช่นเดียวกับเรื่องก่อนนั้นแล. แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดา
ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราละความยินดีและความไม่ยินดีได้
แล้ว ดำรงอยู่ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
35. หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ สีติภูตํ นิรูปธึ
สพฺพโลกาภิภุํ วีรํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" เราเรียกบุคคลนั้น ซึ่งละความยินดีและความ
ไม่ยินดีได้แล้ว ผู้เย็น ไม่มีอุปธิ ครอบงำโลกทั้งปวง
ผู้แกล้วกล้าว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตึ ได้แก่ ความยินดีในกามคุณ 5.
บทว่า อรตึ ได้แก่ ผู้ระอาในการอยู่ป่า.
บทว่า สีติภูตํ ได้แก่ ผู้ดับแล้ว.
บทว่า นิรูปธึ ได้แก่ ผู้ไม่มีอุปกิเลส.
บทว่า วีรํ ความว่า เราเรียกบุคคลผู้ครอบงำขันธโลกทั้งหมดได้
แล้ว ดำรงอยู่ ผู้มีความแกล้วกล้านั้น คือเห็นปานนั้นว่า เป็นพราหมณ์.