เมนู

พวกเธอจงห้ามชนทั้งหลายผู้ถือเอา (รัตนะ) ด้วยพก หรือด้วยกระเช้า
และกระสอบไป, แต่อย่าห้ามชนผู้ถือเอาด้วยมือไป." แม้ในภายในนคร
ก็ให้บอกว่า " รัตนะ 7 ประการ อันเราโปรยลงแล้วที่บริเวณพระคันธกุฎี,
มนุษย์เข็ญใจทั้งหลายผู้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้วไป จงถือเอาเต็ม
มือทั้งสอง, มนุษย์ทั้งหลายแม้ถึงสุขแล้วก็จงถือเอาด้วยมือเดียว."
ได้ยินว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ชนทั้งหลายผู้มีศรัทธา
ประสงค์จะฟังธรรมก่อนจึงจักไปทีเดียว, ส่วนผู้ไม่มีศรัทธา ไปด้วยความ
โลภในทรัพย์ ฟังธรรมแล้ว ก็จักพ้นจากทุกข์ได้;" เพราะเหตุนั้น เขาจึง
ให้บอกอย่างนั้น เพื่อต้องการจะสงเคราะห์ชน.
มหาชน ถือเอารัตนะทั้งหลายตามกำหนดที่เขาบอกแล้วนั่นแล. เมื่อ
รัตนะที่เขาโปรยลงไว้คราวเดียว หมดแล้ว เขาจึงให้โปรยลงเรื่อย ๆ โดย
ถ่องแถวเพียงเข่า ถึง 3 ครั้ง. อนึ่ง เขาวางแก้วมณีอันหาค่ามิได้ประมาณ
เท่าผลแตงโม แทบบาทมูลของพระศาสดา.
ได้ยินว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ชื่อว่า ความอิ่ม จักไม่มี
แก่ชนทั้งหลายผู้แลดูรัศมีแห่งแก้วมณี พร้อมด้วยพระรัศมีอันมีสีดุจทองคำ
แต่พระสรีระของพระศาสดา;" เพราะฉะนั้น เขาจึงได้ทำอย่างนั้น. แม้
มหาชนก็แลดูไม่อิ่มเลย.

พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิลักแก้วมณี


ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง คิดว่า " ได้ยินว่า
แก้วมณีที่มีค่ามาก อันกุฎุมพีนั้นวางไว้แทบบาทมูลของพระศาสดา, เรา
จักลักแก้วมณีนั้น " จึงไปสู่วิหาร เข้าไปโดยระหว่างมหาชนผู้มาแล้วเพื่อ
จะถวายบังคมพระศาสดา.

กุฎุมพีกำหนดไว้ว่า " พราหมณ์นี้ มีประสงค์จะถือเอาแก้วมณี"
ด้วยอาการแห่งการเข้าไปแห่งพราหมณ์นั้นนั่นแล คิดว่า " โอหนอ !
พราหมณ์ไม่ควรถือเอา."
แม้พราหมณ์นั้น วางมือไว้แทบบาทมูลคล้ายจะถวายบังคมพระ-
ศาสดา ถือเอาแก้วมีซ่อนไว้ในเกลียวผ้า หลีกไปแล้ว. กุฎุมพีไม่อาจ
ยังจิตให้เลื่อมใสในพราหมณ์นั้นได้.
ในกาลจบธรรมกถา กุฏุมพีนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า
" พระเจ้าข้า รัตนะ 7 ประการอันข้าพระองค์โปรยล้อมรอบพระคันธกุฎี
สิ้น 3 ครั้ง โดยถ่องแถวเพียงเข่า, เมื่อชนทั้งหลายถือเอารัตนะเหล่านั้น
ขึ้นชื่อว่า ความอาฆาตมิได้มีแล้วแก่ข้าพระองค์, จิตยิ่งเลื่อมใสขึ้นเรื่อย ๆ,
แต่วันนี้ ข้าพระองค์คิดว่า " โอหนอ ! พราหมณ์นี้ ไม่ควรถือเอา
แก้วมณี," เมื่อพราหมณ์นั้นถือเอาแก้วมณีไปแล้ว, จึงไม่อาจยังจิตให้
เลื่อมใสได้."
พระศาสดาทรงสดับคำของกุฎุมพีนั้นแล้ว ตรัสว่า " อุบาสก ท่านไม่
อาจเพื่อจะทำของมีอยู่ของตน ให้เป็นของอันชนเหล่าอื่นพึงนำไปไม่ได้
มิใช่หรือ ?" ดังนี้แล้ว ได้ประทานนัยแล้ว.
กุฎุมพีนั้น ดำรงอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทานแล้ว ถวายบังคม
พระศาสดา ได้ทำการปรารถนาว่า " พระเจ้าข้า พระราชาหรือโจรแม้
หลายร้อย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะข่มเหงข้าพระองค์ ถือเอาแม้เส้นด้ายแห่ง
ชายผ้าอันเป็นของข้าพระองค์ จงอย่ามี นับแต่วันนี้เป็นต้นไป, แม้ไฟก็
อย่าไหม้ของ ๆ ข้าพระองค์, แม้น้ำก็อย่าพัด."

แม้พระศาสดา ก็ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่กุฎุมพีนั้นว่า " ขอความ
ปรารถนาที่ท่านปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ."
กุฎุมพีนั้น เมื่อทำการฉลองพระคันธกุฎี ถวายมหาทานแก่ภิกษุ 68
แสน ในภายในวิหารนั่นแหละ ตลอด 9 เดือน ในกาลเป็นที่สุด ได้
ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุทุกรูป. ผ้าสาฎกสำหรับทำจีวรของภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์
ได้มีค่าถึงพันหนึ่ง.

อปราชิตกุฎุมพีเกิดเป็นโชติกเศรษฐี


กุฎุมพีนั้น ทำบุญทั้งหลายจนตลอดอายุอย่างนั้นแล้ว เคลื่อนจาก
อัตภาพนั้น บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ตลอดกาลประมาณเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตระกูล
เศรษฐีตระกูลหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ อยู่ในท้องของมารดาตลอด 9 เดือน
ครึ่ง.
ก็ในวันที่กุฎุมพีนั้นเกิด สรรพอาวุธทั้งหลายในพระนครทั้งสิ้น
รุ่งโรจน์แล้ว. แม้อาภรณ์ทั้งหลายที่สวมกายของชนทั้งปวง* เป็นราวกะว่า
รุ่งโรจน์ เปล่งรัศมีออกแล้ว. พระนครได้รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน. แม้
เศรษฐีก็ได้ไปสู่ที่บำรุงพระราชาแต่เช้าตรู่.
ครั้งนั้น พระราชาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า " วันนี้สรรพอาวุธทั้งหลาย
รุ่งโรจน์แล้ว, พระนครก็รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน; ท่านรู้เหตุในเรื่องนี้
ไหม ?"
เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทราบ.
พระราชา. เหตุอะไร ? เศรษฐี.
1.กายารุฬฺหา อันขึ้นแล้วสู่กาย.