เมนู

น้องชาย. ก็พี่เล่า ? ขอรับ.
เสนกุฎุมพี. ฉันจักบวชในสำนักของพระศาสดา.
น้องชาย. พี่พูดอะไร ? ฉันเมื่อมารดาตายแล้ว ก็ได้พี่เป็นเหมือน
มารดา, เมื่อบิดาตายแล้ว ก็ได้พี่เป็นเหมือนบิดา; ตระกูลนี้ก็มีโภคะมาก,
พี่ดำรงอยู่ในเรือนนี่แหละ ก็สามารถจะทำบุญได้. พี่อย่าทำอย่างนั้น.
เสนกุฎุมพี. ฉันฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้ว, ฉันดำรง
อยู่ในท่ามกลางเรือน ไม่อาจบำเพ็ญธรรมนั้นได้; ฉันจักบวชให้ได้,
เจ้าจงกลับ.
เขายังน้องชายให้กลับไปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักพระศาสดาแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต.
ฝ่ายน้องชาย คิดว่า " เราจักทำสักการะแก่บรรพชิตผู้พี่ชาย" จึง
ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขสิ้น 7 วัน ไหว้พี่ชายแล้ว
กล่าวว่า " ท่านขอรับ ท่านท่าการสลัดออกจากภพแห่งตนได้แล้ว, ส่วน
กระผม ยังเป็นผู้พัวพันด้วยกามคุณ 5,1 ไม่อาจออกบวชได้, ขอท่านจง
บอกบุญกรรมอันใหญ่ที่สมควร แก่กระผมผู้ดำรงอยู่ในเรือนนี่แหละ."
ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะน้องชายนั้นว่า " ดีละ เจ้าผู้เป็น
บัณฑิต เจ้าจงให้ สร้างพระคันธกุฎี สำหรับพระศาสดา."

น้องชายสร้างพระคันธกุฎีถวายพระศาสดา


น้องชายนั้นรับว่า "สาธุ" แล้วยังชนให้นำไม้ต่าง ๆ มาแล้วให้
ถากเพื่อประโยชน์แก่ทัพสัมภาระทั้งหลายมีเสาเป็นต้น ให้ทำเสาทั้งหมด
ให้ขจิตด้วยแก้ว 7 ประการ คือต้นหนึ่งขจิตด้วยทองคำ ต้นหนึ่งขจิต
1. คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าใคร่.

ด้วยเงิน ต้นหนึ่งขจิตด้วยแก้วมณีเป็นต้น แล้วให้สร้างพระคันธกุฎีด้วย
เสาเหล่านั้น ให้มุงด้วยกระเบื้องสำหรับมุงอันขจิตด้วยแก้ว 7 ประการ
เหมือนกัน.
ก็ในเวลาสร้างพระคันธกุฎีนั้นแล หลานชายชื่ออปราชิต ผู้มีชื่อ
เหมือนกับคนนั่นแล เข้าไปหาอปราชิตกุฎุมพีนั้นแล้ว กล่าวว่า " แม้ฉัน
ก็จักสร้าง, ท่านจงให้ส่วนบุญแก่ฉันเถิด ลุง" เขากล่าวว่า " พ่อ ฉัน
ไม่ให้, ฉันจักสร้างไม่ให้ทั่วไปด้วยชนเหล่าอื่น. "
หลานชายนั้น อ้อนวอนแม้เป็นอันมาก เมื่อไม่ได้ส่วนบุญ จึงคิด
ว่า " การที่เราได้กุญชรศาลาข้างหน้าพระคันธกุฎี ย่อมควร" ดังนี้แล้ว
จึงให้สร้างกุญชรศาลา1ที่สำเร็จด้วยแก้ว 9 ประการ. เขาเกิดเป็นเมณฑก-
เศรษฐีในพุทธุปบาทกาลนี้.
ก็บานหน้าต่างใหญ่ 3 บาน ที่สำเร็จด้วยแก้ว 7 ประการ ได้มี
แล้วในพระคันธกุฎี. อปราชิตคฤหบดีให้สร้างสระโบกขรณี 3 สระ ที่
โบกด้วยปูนขาว ณ ภายใต้ที่ตรงบานหน้าต่างเหล่านั้น ให้เต็มด้วยน้ำหอม
อันเกิดแต่ชาติทั้ง 42 แล้วให้ปลูกดอกไม้ 53 สี, ให้ย่อยบรรดาแก้ว 7
ประการ แก้วที่ควรแก่ความเป็นของที่จะพึงย่อยได้แล้วถือเอาแก้วนอกนี้
ทั้งหมดทีเดียว โปรยรอบพระคันธกุฎีโดยถ่องแถวเพียงเข่า ยังบริเวณ
ให้เต็มแล้ว.
1. ศาลามีรูปคล้ายช้าง. 2. กุงฺกุมํ หญ้าฝรั่น 1. ยวนปุปฺผํ ดอกไม้เกิดในยวน-
ประเทศ 1. ตครํ กฤษณา 1. ตุรุกฺโข กำยาน 1. 3. เบื้องหน้าแต่นี้ คำพูดอย่างนี้
ปรากฏโดยมาก. เพื่อจะโปรยพระสรีระด้วยสายแห่งเกสรทั้งหลาย อันตั้งขึ้นแล้วด้วยกำลังลม
ในกาลแห่งพระตถาคตประทับนั่งภายในแล้ว กระเบื้องที่ยอดพระคันธกุฎี ได้สำเร็จด้วยทองคำ
อันสุกปลั่ง. หาง (กระเบื้อง) สำเร็จด้วยแก้วประพาฬตอนล่าง กระเบื้องมุงสำเร็จด้วยแก้วมณี.
พระคันธกุฎีนั้น ได้ตั้งอยู่งดงามดุจนกยูงลำแพน ด้วยประการฉะนี้.

คฤหบดีชื่ออปราชิต ยังพระคันกุฎีให้สำเร็จด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว
จึงเข้าไปหาพระเถระผู้พี่ชาย เรียนว่า " ท่านขอรับ พระคันธกุฎีสำเร็จ
แล้ว. กระผมหวังการใช้สอยพระคันธกุฎีนั้น, ได้ยินว่า บุญเป็นอันมาก
ย่อมมีเพราะการใช้สอย."
พระเถระนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ทราบ
ว่า กุฎุมพีผู้นี้ให้สร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระองค์, บัดนี้เธอหวังการใช้สอย."
พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะแล้ว เสด็จไปสู่ที่เฉพาะหน้าพระ-
คันธกุฎี ทอดพระเนตรกองรัตนะที่เขากองล้อมรอบพระคันธกุฎี ได้
ประทับยืนอยู่แล้วที่ซุ้มแห่งประตู1, ก็เมื่อกุฎุมพีนั้นกราบทูลว่า " พระเจ้า-
ข้า การรักษาจักมีแก่ข้าพระองค์เอง, ขอพระองค์จงเสด็จเข้าไปเถิด."
พระศาสดาเสด็จเข้าไปแล้ว.

เขาตั้งการรักษารัตนะที่โปรยไว้รอบพระคันธกุฎี


แม้กุฎุมพีก็ตั้งการรักษาไว้โดยรอบ สั่งมนุษย์ทั้งหลายไว้ว่า " พ่อ
1. เบื้องหน้าแต่นี้ คำพูดอย่างนี้ ปรากฏโดยมาก: ลำดับนั้น กุฏุมพีกราบทูลพระองค์ว่า
" ขอพระองค์โปรดเสด็จเข้าไปเถิด พระเจ้าข้า" พระศาสดาประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล ทอด
พระเนตรดูพระเถระพี่ชายของกุฏุมพีนั้นถึง 3 ครั้ง, พระเถระทราบด้วยอาการที่พระองค์ทอด
พระเนตรแล้วนั่นแล กล่าวกะน้องชายว่า " มาเถิด พ่อ เธอจงทูลพระศาสดาว่า การรักษาจักมี
แก่ข้าพระองค์เอง ขอเชิญพระองค์ประทับอยู่ตามสบายเถิด" เขาฟังคำพระเถระแล้ว ถวายบังคม
พระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พวกมนุษย์เข้าไปที่โคนไม้แล้ว
ไม่มีความเยื่อใยหลีกไปฉันใด, อนึ่ง พวกมนุษย์ข้ามแม่น้ำ ไม่มีความเยื่อใย สละพ่วงแพเสียได้
ฉันใด, ขอพระองค์ทรงเป็นผู้ไม่ความความเยื่อใยฉันนั้น ประทับอยู่เถิด." ก็พระศาสดาประทับยืน
อยู่เพื่ออะไร ๆ ได้ยินว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า "ชนเป็นอันมาก ย่อมมาสู่สำนัก
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัตบ้าง ในเวลาหลังภัตบ้าง เมื่อชนเหล่านั้นถือเอารัตนะ
ทั้งหลายไปอยู่, พวกเราไม่อาจห้ามได้ กุฎุมพีพึงติเตียนว่า ' เมื่อรัตนะประมาณเท่านี้เราโปรยลง
แล้วที่บริเวณ, พระศาสดาไม่ห้ามปรามอุปัฏฐากของพระองค์ แม้ผู้นำ (รัตนะ) ไปอยู่ ดังนี้แล้ว
ทำความอาฆาตในเรา พึงเป็นผู้เข้าถึงอบาย ' เพราะเหตุนี้ พระศาสดาจึงได้ประทับยืนอยู่แล้ว.