เมนู

32. เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ [295]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสุนทร-
สมุทรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยธ กาเม " เป็นต้น.

กุลบุตรออกบวช


ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี กุลบุตรคนหนึ่งชื่อสุนทรสมุทรกุมาร
เกิดในตระกูลใหญ่อันมีสมบัติ 40 โกฏิ.
วันหนึ่ง เขาเห็นมหาชนมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นในมือ
ไปสู่พระเชตวันเพื่อต้องการฟังธรรม ในเวลาภายหลังภัตจึงถามว่า " พวก
ท่านจะไปไหนกัน" ? เมื่อมหาชนนั้นบอกว่า " พวกฉันจะไปสู่สำนัก
พระศาสดา เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม, กล่าวว่า " ฉันก็จักไป "
แล้วไปกับมหาชนนั้น นั่ง ณ ที่สุดบริษัท.
พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงทรงแสดงอนุปุพพีกถา.
เขาคิดว่า " บุคคลผู้อยู่ครองเรือน ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ให้เป็น
ดุจสังข์ที่ขัดแล้วได้." อาศัยพระกถาของพระศาสดา มีความอุตสาหะเกิด
แล้วในบรรพชา, เมื่อบริษัทหลีกไปแล้ว, จึงทูลขอบรรพชากะพระศาสดา
ได้สดับว่า " พระตถาคตทั้งหลาย ไม่ยังกุลบุตรที่มารดาบิดายังไม่อนุญาต
ให้บรรพชา" จึงไปสู่เรือนแล้ว ยังมารดาบิดาให้อนุญาตด้วยความพยายาม
มากเหมือนกุลบุตรชื่อรัฏฐบาลเป็นต้น ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนัก
พระศาสดาแล้ว คิดว่า " ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยการอยู่ในที่นี้ "
จึงออกจากกรุงสาวัตถีนั้นไปสู่กรุงราชคฤห์ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ยังกาลให้
ล่วงไปแล้ว.

หญิงแพศยารับอาสาจะให้พระเถระสึกให้ได้


ต่อมาวันหนึ่ง มารดาบิดาของพระสุนทรสมุทรเถระนั้น เห็นพวก
กุมารที่เป็นสหายของท่าน กำลังเล่นอยู่ด้วยสิริโสภาค1ย์อันใหญ่ในวัน
มหรสพวันหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี คร่ำครวญว่า " การเล่นชนิดนี้ บุตร
ของเราได้โดยยาก."
ในขณะนั้น หญิงแพศยาคนหนึ่งไปสู่ตระกูลนั้น เห็นมารดาของ
พระสุนทรสมุทรเถระนั้นกำลังนั่งร้องไห้อยู่ จึงถามว่า " คุณแม่ เพราะ
เหตุไร ? คุณแม่จึงร้องไห้."
มารดาพระสุนทรสมุทร. ฉันคิดถึงลูก จึงร้องไห้.
หญิงแพศยา. ก็บุตรนั้นไปที่ไหนเล่า ? คุณแม่.
มารดาพระสุนทรสมุทร. บวชใน (สำนัก ) ภิกษุทั้งหลาย.
หญิงแพศยา. การให้ท่านสึกเสีย ไม่ควรหรือ ?
มารดาพระสุนทรสมุทร. ควร แต่เธอไม่ปรารถนา, เธอออกจาก
กรุงสาวัตถีนี้ ไปสู่กรุงราชคฤห์.
หญิงแพศยา. ถ้าดิฉันพึงให้ท่านสึกได้ไซร้, คุณแม่พึงทำอะไร ?
แก่ดิฉัน.
มารดาพระสุนทรสมุทร. พวกฉันพึงทำเจ้าให้เป็นเจ้าของแห่งขุม-
ทรัพย์ตระกูลนี้.
หญิงแพศยากล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น คุณแม่จงให้สินจ้างแก่ดิฉัน "
ถือเอาสินจ้างแล้ว ไปสู่กรุงราชคฤห์ด้วยบริวารหมู่ใหญ่ กำหนดถนนที่
เที่ยวบิณฑบาตของท่านได้แล้ว ยึดเอาเรือนเป็นที่พักหลังหนึ่งในที่นั้น
1. ความเป็นผู้มีส่วนงามด้วยสิริ.