เมนู

ที่มีกิ่งแดงเท่านั้น. เขารับรองว่า " ดีละ " แล้วเมื่อมาสู่สำนักของพ่อค้า
นั้นตลอดกาลตามกาล ย่อมนำมาแต่ไม้จันทน์แดงเท่านั้น. แม้พ่อค้านั้น
ก็ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่เขา.
โดยสมัยอื่นอีกแต่กาลนั้น เมื่อพระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว
เมื่อสถูปทองอันเขาประดิษฐานไว้แล้ว, บุรุษนั้นได้บรรทุกไม้จันทน์แดง
เป็นอันมาก ไปสู่กรุงพาราณสี.
ครั้งนั้น พ่อค้านั้นผู้เป็นสหายของเขา ให้บดไม้จันทน์เป็นอันมาก
ให้เต็มถาดแล้ว กล่าวว่า " สหาย ท่านจงมา, พวกเราจักไปสู่ที่ก่อเจดีย์
จนกว่าจะหุงภัต (สุก) แล้วจึงกลับ " ได้พาเขาไปในที่นั้นทำการบูชาด้วย
ไม้จันทน์แล้ว.
สหายชาวปัจจันตชนบทของเขาแม้นั้น ได้สร้างที่ดุจมณฑลแห่ง
พระจันทร์ด้วยไม้จันทน์ ในห้องแห่งพระเจดีย์, บุรพกรรมของเขามี
เพียงนี้เท่านั้น.

อานิสงส์การบูชาด้วยไม้จันทร์แดง


เขาจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก ยังพุทธันดรหนึ่งให้สิ้น
ไปแล้วในเทวโลกนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์
มหาศาล ในกรุงราชคฤห์. รัศมีเช่นกับด้วยมณฑลพระจันทร์ตั้งขึ้นจาก
มณฑลแห่งนาภีของเขา. เพราะเหตุนั้น พวกญาติจึงขนานนามของเขาว่า
" จันทาภะ " นัยว่า นั่นเป็นผลแห่งการทำที่ดุจมณฑลแห่งพระจันทร์ ใน
พระเจดีย์ของเขา.
พราหมณ์ทั้งหลายคิดกันว่า " พวกเราอาจเพื่อพาเอาพราหมณ์นี้ไป
หากินกะโลกเขาได้ " ดังนี้แล้ว ให้เขานั่งบนยานน้อย เที่ยวกล่าวว่า

" ผู้ใดเอามือลูบคลำสรีระของจันทาภพราหมณ์นี้, ผู้นั้นจะได้อิสริยสมบัติ
ชื่อเห็นปานนี้."
ชนทั้งหลาย เมื่อให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง แสนหนึ่ง
บ้างนั่นแล จึงจะได้เพื่ออามือถูกต้องสรีระของพราหมณ์นั้น.
พราหมณ์เหล่านั้น เที่ยวไปเนือง ๆ อยู่อย่างนี้ ก็ถึงกรุงสาวัตถี
โดยลำดับ ยึดเอาที่พักในระหว่างแห่งพระนครและวิหารแล้ว.
อริยสาวกประมาณ 5 โกฏิแม้ในกรุงสาวัตถี ถวายทานในกาลก่อน
แห่งภัตแล้ว ในกาลภายหลังภัต มีมือถือของหอมระเบียบดอกไม้ผ้าและ
เภสัชเป็นต้น ไปเพื่อฟังธรรม. พราหมณ์ทั้งหลายเห็นอริยสาวกเหล่านั้น
แล้ว ถามว่า " ท่านทั้งหลายจะไปที่ไหนกัน ? "
อริยสาวก. พวกเราจักไปสู่สำนักของพระศาสดา เพื่อฟังธรรม.
พวกพราหมณ์. ท่านทั้งหลายจงมา, ท่านทั้งหลายไปในที่นั้นแล้ว
จักทำอะไร ? อานุภาพเช่นกับด้วยอานุภาพของจันทาภพราหมณ์ ของ
พวกข้าพเจ้าไม่มี, เพราะว่าชนทั้งหลายถูกต้องสรีระของจันทาภพราหมณ์
นั่น ย่อมได้สมบัติชื่อนี้, ท่านทั้งหลายจงมา, จงดูจันทาภพราหมณ์นั้น.
อริยสาวกเหล่านั้นกล่าวว่า " ชื่อว่าอานุภาพของจันทาภพราหมณ์
ของท่านทั้งหลาย เป็นอย่างไร ? พระศาสดาของพวกเราเท่านั้น มี
อานุภาพมาก."
อริยสาวกและพวกพราหมณ์เหล่านั้น ไม่อาจเพื่อยังกันและกันให้
ยินยอมได้ จึงกล่าวว่า " พวกเราไปสู่วิหารแล้ว จักรู้อานุภาพของจันทาภ-
พราหมณ์ หรือของพระศาสดาของพวกเรา" ดังนี้แล้วได้พาจันทาภ-
พราหมณ์นั้นไปสู่วิหารแล้ว.

จันทาภพราหมณ์อับเฉาในสำนักพระศาสดา
พระศาสดา เมื่อจันทาภพราหมณ์นั้น พอเข้าไปสู่สำนักของพระ-
องค์, ได้ทรงทำให้รัศมีเพียงดังพระจันทร์หายไปเสีย. จันทาภพราหมณ์
นั้น ได้เป็นประหนึ่งกาในกระเช้าถ่าน ในสำนักพระศาสดา.
ครั้งนั้น พราหมณ์ทั้งหลายจึงนำเขาไปไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. รัศมี
ได้กลับเป็นปกติอย่างเดิม. พราหมณ์ก็นำมาสู่สำนักพระศาสดาอีก. รัศมี
ก็หายไปอย่างนั้นเหมือนกัน. จันทาภพราหมณ์ไปแล้วอย่างนั้นถึง 3 ครั้ง
เห็นรัศมีหายไปอยู่ จึงคิดว่า " ผู้นี้ เห็นจะรู้มนต์เป็นเครื่องหายไปแห่ง
รัศมี." เขาจึงทูลถามพระศาสดาว่า " พระองค์ทรงทราบมนต์เป็นเครื่อง
หายไปแห่งรัศมีหรือหนอแล ?"
พระศาสดา. เออ เรารู้.
จันทาภะ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงประทานแก่ข้าพระองค์บ้าง.
พระศาสดา. เราไม่อาจเพื่อให้แก่บุคคลผู้ไม่บวช.
จันทาภะนั้นกล่าวกะพวกพราหมณ์ว่า " เมื่อฉันเรียนมนต์นั่นแล้ว
ฉันจักเป็นผู้ประเสริฐในชมพูทวีปทั้งสิ้น, พวกท่านจงรออยู่ที่นี่ก่อน, ฉัน
จักบวชเรียนมนต์โดย 2-3 วัน เท่านั้น." เ ขาทูลขอการบรรพชากะพระ-
ศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว.
ครั้งนั้น พระศาสดาจึงตรัสบอกอาการ 32 แก่จันทาภภิกษุนั้น.
เธอทูลถามว่า " นี้อะไร ? "
พระศาสดา. นี้เป็นบริกรรมแห่งมนต์, เธอควรสาธยาย.
แม้พวกพราหมณ์มาในระหว่าง ๆ แล้ว ถามว่า " ท่านเรียนมนต์
ได้แล้วหรือ ?"

จันทาภะ. ยังก่อน. ฉันกำลังเรียน.
เขาบรรลุพระอรหัตโดย 2-3 วันเท่านั้น ในเวลาที่พวกพราหมณ์
มาถามแล้ว กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายจงไปเถิด. เดี๋ยวนี้ฉันเป็นผู้มีธรรม
เครื่องไม่ไปเสียแล้ว."
ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลแด่พระตถาคตว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุนี้
กล่าวคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล."

พระขีณาสพกล่าวแต่คำจริง


พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ จันทาภะบุตรของเรา
มีอาสวะสิ้นแล้ว ย่อมกล่าวแต่คำจริงเท่านั้น " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา
นี้ว่า:-
30. จนฺทํว วิมลํ สุทฺธํ วิปฺปสนฺนมนาวิลํ
นนฺทิภวปริกฺขีณํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" เราเรียกผู้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว มีภพ
เครื่องเพลิดเพลินสิ้นแล้ว เหมือนพระจันทร์ ที่
ปราศจากมลทินนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมลํ ได้แก่ เว้นแล้วจากมลทินมี
หมอกเป็นต้น.
บทว่า สุทฺธํ ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส.
บทว่า วิปฺปสนฺนํ ได้แก่ มีจิตผ่องใสแล้ว.
บทว่า อนาวิลํ ได้แก่ เว้นแล้วจากมลทินมีกิเลสเป็นต้น.