เมนู

' ด้วยกถาชื่อนี้,' จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา,
แต่เธอกล่าวอย่างนั้น ก็ด้วยคิดว่า ' ก็ความเสื่อมจากบุญของพวกมนุษย์
และความเสื่อมจากลาภที่ชอบธรรม ของภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย
อย่าได้มี" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
27. อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
นิราสยํ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ความหวังของผู้ใด ไม่มีในโลกนี้และโลกหน้า,
เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความหวัง พราก (กิเลส) ได้
แล้วว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


ตัณหา ชื่อว่า อาสา ในพระคาถานั้น.
บทว่า นิราสาสํ1 ได้แก่ ไม่มีตัณหา.
บทว่า วิสํยุตฺตํ ความว่า เราเรียกผู้พรากได้แล้วจากกิเลสทั้งปวง
นั้นว่า เป็นพราหมณ์.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.
1. บาลีเป็น นิราสยํ.

28. เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ [291]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระมหา-
โมคคัลลานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺสาลยา " เป็นต้น.
พระศาสดาทรงแสดงลักษณะแห่งพราหมณ์
เรื่องก็เช่นกับเรื่องมีในก่อนนั่นเอง. แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดา
ตรัสความที่พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นผู้ไม่มีตัณหาแล้ว ตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
28. ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ อญฺญาย อกถงฺกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ความอาลัยของบุคคลใดไม่มี, บุคคลใดรู้ชัด
แล้ว เป็นผู้ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุกล่าวว่าอย่างไร,
เราเรียกบุคคลนั้น ผู้หยั่งลงสู่อมตะ ตามบรรลุแล้วว่า
เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


ตัณหา ชื่อว่า อาลัย ในพระคาถานั้น.
บาทพระคาถาว่า อญฺญาย อกถงฺกถี ความว่า ผู้รู้วัตถุ 8 ตามความ
เป็นจริงแล้ว เป็นผู้ไม่มีความสงสัย ด้วยความสงสัยซึ่งมีวัตถุ 8.
บาทพระคาถาว่า อมโตคธํ อนุปฺปตฺต ความว่า เราเรียกบุคคล
นั้น ผู้หยั่งลงสู่พระนิพพานชื่ออมตะ ตามบรรลุแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.