เมนู

26. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [289]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยธ ทีฆํ " เป็นต้น.

พระขีณาสพถือเอาของคนอื่นด้วยบังสุกุลสัญญา


ได้ยินว่า พราหมณ์มิจฉาที่ทิฏฐิคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี เปลื้องผ้า
สาฎกสำหรับห่ม วางไว้ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง เพราะกลัวถูกกลิ่นตัวจับ
นั่งผินหน้าออกมาข้างนอกประตูเรือน.
ลำดับนั้น พระขีณาสพรูปหนึ่งทำภัตกิจแล้ว กำลังเดินไปสู่วิหาร
เห็นผ้าสาฎกนั้นแล้ว เหลียวดูข้างโน้นและข้างนี้ เมื่อไม่เห็นใครๆ จึงคิด
ว่า " ผ้าสาฎกนี้หาเจ้าของมิได้ " แล้วอธิษฐานเป็นผ้าบังสุกุล ถือเอาแล้ว.
ขณะนั้น พราหมณ์เห็นท่านแล้ว ด่าพลางเข้าไปหา กล่าวว่า " สมณะ
โล้น ท่านถือเอาผ้าสาฎกของข้าพเจ้าทำไม ?"
พระขีณาสพ. พราหมณ์ นั่นผ้าสาฎกของท่านหรือ ?
พราหมณ์. เออ สมณะ.
พระขีณาสพ. กล่าวว่า " ฉันไม่เห็นใครๆ จึงถือเอาผ้าสาฎกนั้น
ด้วยสัญญาว่าเป็นผ้าบังสุกุล, ท่านจงรับเอาผ้านั้นเถิด" ให้ (ผ้าสาฎก)
แก่พราหมณ์นั้นแล้วไปสู่วิหาร บอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายฟังคำของท่านแล้ว เมื่อจะทำการเยาะเย้ย
กับด้วยท่าน จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ ผ้าสาฎกยาวหรือสั้น หยาบหรือ
ละเอียดหนอแล ? "

พระขีณาสพกล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย ผ้าสาฎกยาวหรือสั้น หยาบ
หรือละเอียดก็ช่างเถิด, ความอาลัยในผ้าสาฎกนั้นของผมไม่มี ผมถือเอา
ด้วยความสำคัญว่าผ้าบังสุกุล (ต่างหาก)."
ภิกษุทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว กราบทูลแด่พระตถาคตว่า " พระเจ้าข้า
ภิกษุนั่นกล่าวคำไม่จริง พยากรณ์พระอรหัตผล."

พระขีณาสพไม่ถือเอาของคนอื่นด้วยเจตนาขโมย


พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นกล่าวคำจริง, ธรรมดา
พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ถือเอาสิ่งของ ๆ คนเหล่าอื่น " ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
26. โยธ ทีฆํ ว รสฺสํ วา อณุํ ถูลํ สุภาสุภํ
โลเก อทินฺนํ นาทิยติ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใด ไม่ถือเอาของยาวหรือสั้น น้อยหรือใหญ่
งามหรือไม่งาม อันเขาไม่ให้แล้ว ในโลกนี้, เรา
เรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้น (ดังนี้)1:-
ความว่า บุคคลใด ย่อมไม่ถือเอาสิ่งของยาวหรือสั้น บรรดาวัตถุ
ทั้งหลายมีผ้าสาฎกและเครื่องประดับเป็นต้น น้อยหรือใหญ่ บรรดาวัตถุ
ทั้งหลาย มีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น งามหรือไม่งาม ด้วยอำนาจ
1. ตสฺสตฺโถ....อตฺโถ นี้อาจจะแปลได้อีกนัยหนึ่งว่า เนื้อความว่า....ดังนี้ เป็นเนื้อความแห่ง
คำอันเป็นคาถานั้น.