เมนู

เรากล่าวอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งความเคยชิน" เมื่อจะทรงแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
25. อกฺกกสํ วิญฺญาปนึ คิรึ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู อันให้รู้
กันได้ เป็นคำจริง อันเป็นเหตุไม่ยังใคร ๆ ให้ขัดใจ,
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺกฺกสํ ได้แก่ คำไม่หยาบ.
บทว่า วิญฺญาปนึ ได้แก่ ให้รู้เนื้อความกันได้.
บทว่า สจฺจํ ได้แก่ เป็นเนื้อความอันจริง.
บทว่า นาภิสเช เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่พึงยังบุคคลอื่นให้ข้อง
ใจด้วยอำนาจแห่งการให้เขาโกรธ ด้วยถ้อยคำอันใด, ธรรมดาพระขีณาสพ
พึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้นนั่นแล; เหตุนั้น เราจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ จบ.

26. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [289]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยธ ทีฆํ " เป็นต้น.

พระขีณาสพถือเอาของคนอื่นด้วยบังสุกุลสัญญา


ได้ยินว่า พราหมณ์มิจฉาที่ทิฏฐิคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี เปลื้องผ้า
สาฎกสำหรับห่ม วางไว้ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง เพราะกลัวถูกกลิ่นตัวจับ
นั่งผินหน้าออกมาข้างนอกประตูเรือน.
ลำดับนั้น พระขีณาสพรูปหนึ่งทำภัตกิจแล้ว กำลังเดินไปสู่วิหาร
เห็นผ้าสาฎกนั้นแล้ว เหลียวดูข้างโน้นและข้างนี้ เมื่อไม่เห็นใครๆ จึงคิด
ว่า " ผ้าสาฎกนี้หาเจ้าของมิได้ " แล้วอธิษฐานเป็นผ้าบังสุกุล ถือเอาแล้ว.
ขณะนั้น พราหมณ์เห็นท่านแล้ว ด่าพลางเข้าไปหา กล่าวว่า " สมณะ
โล้น ท่านถือเอาผ้าสาฎกของข้าพเจ้าทำไม ?"
พระขีณาสพ. พราหมณ์ นั่นผ้าสาฎกของท่านหรือ ?
พราหมณ์. เออ สมณะ.
พระขีณาสพ. กล่าวว่า " ฉันไม่เห็นใครๆ จึงถือเอาผ้าสาฎกนั้น
ด้วยสัญญาว่าเป็นผ้าบังสุกุล, ท่านจงรับเอาผ้านั้นเถิด" ให้ (ผ้าสาฎก)
แก่พราหมณ์นั้นแล้วไปสู่วิหาร บอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายฟังคำของท่านแล้ว เมื่อจะทำการเยาะเย้ย
กับด้วยท่าน จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ ผ้าสาฎกยาวหรือสั้น หยาบหรือ
ละเอียดหนอแล ? "