เมนู

25. เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ [288]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระปิลินท-
วัจฉเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อกกฺกสํ " เป็นต้น.

พระปิลินทวัจฉะใช้วาทะว่าคนถ่อยจนติดปาก


ได้ยินว่า ท่านปิลินทวัจฉะนั้น กล่าวคำเป็นต้นว่า " คนถ่อย จงมา,
คนถ่อย จงไป" ย่อมร้องเรียกทั้งคฤหัสถ์ทั้งบรรพชิต ด้วยวาทะว่าคนถ่อย
ทั้งนั้น.
ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุเป็นอันมากกราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระ-
เจ้าข้า ท่านปิลินทวัจฉะ ย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยยวาทะว่าคนถ่อย."
พระศาสดารับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ปิลินทวัจฉะ
ได้ยินว่า เธอร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยวาทะว่าคนถ่อยจริงหรือ ?"
เมื่อท่านกราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า " จึงทรงกระทำบุพเพนิวาส
ของท่านปิลินทวัจฉะนั้นไว้ในพระหฤทัย แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธออย่ายกโทษแก่ภิกษุชื่อปิลินทวัจฉะเลย, ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะหามี
โทสะในภายใน ร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อยไม่, ภิกษุ-
ทั้งหลาย 500 ชาติของภิกษุชื่อวัจฉะไม่สับสนกัน, ทั้งหมดนั้นเกิดแล้ว
ในตระกูลพราหมณ์ ในภายหลัง, วาทะคนถ่อยนั้น เธอร้องเรียกมาแล้ว
ตลอดกาลนาน, ถ้อยคำกระทบกระทั่งชนเหล่าอื่น อันเป็นคำระคายหู
คำหยาบคายนั่นเทียว ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ, เพราะว่าบุตรของ

เรากล่าวอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งความเคยชิน" เมื่อจะทรงแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
25. อกฺกกสํ วิญฺญาปนึ คิรึ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู อันให้รู้
กันได้ เป็นคำจริง อันเป็นเหตุไม่ยังใคร ๆ ให้ขัดใจ,
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺกฺกสํ ได้แก่ คำไม่หยาบ.
บทว่า วิญฺญาปนึ ได้แก่ ให้รู้เนื้อความกันได้.
บทว่า สจฺจํ ได้แก่ เป็นเนื้อความอันจริง.
บทว่า นาภิสเช เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่พึงยังบุคคลอื่นให้ข้อง
ใจด้วยอำนาจแห่งการให้เขาโกรธ ด้วยถ้อยคำอันใด, ธรรมดาพระขีณาสพ
พึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้นนั่นแล; เหตุนั้น เราจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ จบ.