เมนู

ฝ่ายท้าวสักกะ ก็คงประทับนั่งในที่ตนนั่งนั่นแล กวักพระหัตถ์แล้ว.
ทั้งสองงผัวเมียนั้น กลับมาเห็นท้าวสักกะนั้นประดับนั่งอยู่อย่างเดิม ร้อง
อยู่ด้วยความกลัว ปล่อยไปแล้ว. ในขณะนั้น ท้าวสักกะให้เขาทราบความ
ที่พระองค์เป็นท้าวสักกะแล้ว.
ลำดับนั้น ผัวเมียทั้งสองได้ถวายอาหารแก่สามเณรเหล่านั้นแล้ว.
ชนแม้ทั้ง 5 รับอาหารแล้ว, รูปหนึ่งทำลายมณฑลช่อฟ้าไป, รูปหนึ่ง
ทำลายส่วนเบื้องหน้าแห่งหลังคาไป, รูปหนึ่งทำลายส่วนเบื้องหลังแห่ง
หลังคาไป, รูปหนึ่งดำลงในแผ่นดินไป, ฝ่ายท้าวสักกะก็เสด็จออกไปโดย
ทางหนึ่ง, ชนแม้ทั้ง 5 ได้ไปสู่ที่ทั้ง 5 ด้วยประการฉะนี้.

พวกสามเณรเล่าเรื่องที่ถูกทรมาน


ก็แล จำเดิมแต่นั้นมา ทราบว่าเรือนนั้น ชื่อว่าเป็นเรือนมีช่อง 5.
ในกาลที่สามเณรไปสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลาย ถามแม้ซึ่งสามเณรทั้งหลายว่า
" ผู้มีอายุทั้งหลาย เรื่องนี้เป็นเช่นไรกัน ?"
พวกสามเณร. ท่านทั้งหลายจงอย่าถามพวกกระผม, จำเดิมแต่กาล
ที่พราหมณีเห็นพวกกระผมแล้ว พราหมณีถูกความโกรธครอบงำ ไม่ให้
พวกกระผมนั่งบนอาสนะที่ตบแต่งไว้ แล้วยังกล่าวว่า ' ท่านจงนำพราหมณ์
แก่มาเร็ว,' อุปัชฌายะของพวกกระผมมาเห็นพวกกระผมแล้ว กล่าวว่า
' การที่พราหมณ์ผู้นั่งอยู่เหล่านี้ได้ (อาหารก่อน) ควร,' ให้นำบาตรมาแล้ว
ออกไป, เมื่อนางพราหมณีกล่าวว่า ' ท่านจงนำพราหมณ์แก่อื่นมา,'
พราหมณ์นำพระมหาโมคคัลลานเถระมาแล้ว, ท่านเห็นพวกกระผม ก็
กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วหลีกไป, ทีนั้น พราหมณีกล่าวว่า ' พราหมณ์
เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ประสงค์จะฉัน, ท่านจงไป, จงนำพราหมณ์แก่คนหนึ่ง

จากโรงสวดของพราหมณ์มาเถิด ' แล้วส่งพราหมณ์ไป, พราหมณ์นั้นไป
ที่โรงสวดนั้นแล้ว นำท้าวสักกะผู้เสด็จมาด้วยเพศแห่งพราหมณ์มา, ใน
กาลที่ท้าวสักกะนั้นเสด็จมาแล้ว ผัวเมียทั้งสองจึงได้ถวายอาหารแก่พวก
กระผม.
ภิกษุทั้งหลาย. พวกเธอไม่โกรธแก่เขา ผู้ทำอยู่อย่างนั้นหรือ ?
พวกสามเณร. พวกกระผมไม่โกรธ.
ภิกษุทั้งหลาย ฟังคำนั้นแล้ว กราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระ-
เจ้าข้า สามเณรเหล่านี้ กล่าวคำไม่จริงว่า ' พวกกระผมไม่โกรธ ' ย่อม
พยากรณ์พระอรหัตผล."
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย
ย่อมไม่เคียดแค้นในชนทั้งหลาย แม้ผู้เคียดแค้นแล้วเลย" ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า:-
23. อวิรุทฺธํ วิรุทฺเธสุ อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตํ
สาทาเนสุ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" เราย่อมเรียกบุคคลผู้ไม่เคียดแค้น ในบุคคลผู้
เคียดแค้น ผู้ดับเสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน ผู้
ไม่ถือมั่นในบุคคลผู้ถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิรุทฺธํ เป็นต้น ความว่า เราย่อมเรียก
บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น ผู้ชื่อว่าไม่เคียดแค้น เพราะความไม่มีอาฆาต
ในพวกโลกิยมหาชน แม้ผู้เคียดแค้นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความอาฆาต