เมนู

ผ้าเครื่องปกปิด เงินและทอง ย่อมไหลออกจากปากแพะแม้ตัวหนึ่ง ก็เป็น
ของเพียงพอแก่ชาวชมพูทวีป. จำเดิมแต่นั้นมา เศรษฐีนั้นจึงปรากฏว่า
เมณฑกเศรษฐี.

บุรพกรรมของท่านเศรษฐี


ถามว่า ก็บุรพกรรมของเศรษฐีนั้นเป็นอย่างไร ? แก้ว่า ได้ยินว่า
ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี เศรษฐีนั้นเป็นหลานของ
กุฎุมพีชื่ออวโรชะ ได้มีชื่อว่า อวโรชะ ซึ่งมีชื่อพ้องกับลุง. ครั้งนั้น
ลุงของเขาปรารภเพื่อจะสร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระศาสดา. เขาไปสู่สำนัก
ของลุงแล้ว กล่าวว่า " ลุง แม้เราทั้งสองจงสร้างรวมกันทีเดียว" ใน
เวลาที่ถูกลุงนั้นห้ามว่า " เราคนเดียวเท่านั้นจักสร้างไม่ให้สาธารณะกับด้วย
ชนเหล่าอื่น" จึงคิดว่า "เมื่อลุงสร้างคันธกุฎีในที่นี้แล้ว, เราควรได้ศาลา
รายในที่นี้" จึงให้คนนำเครื่องไม้มาจากป่า ให้ทำเสาอย่างนั้น คือ "เสา
ต้นหนึ่งบุด้วยทองคำ, ต้นหนึ่งบุด้วยเงิน, ต้นหนึ่งบุด้วยแก้วมณี" ให้
ทำขื่อ พรึง บานประตู บานหน้าต่าง กลอน เครื่องมุงแลอิฐแม้ทั้งหมด
บุด้วยวัตถุมีทองคำเป็นต้นเทียว ให้ทำศาลารายสำเร็จด้วยรัตนะ 7ประการ
แด่พระตถาคตในที่ตรงหน้าพระคันธกุฎี ในเบื้องบนแห่งศาลารายนั้น
ได้มีจอมยอด 3 ยอด อันสำเร็จแล้วด้วยทองคำอันสุกเป็นแท่งแก้วผลึก
และแก้วประพาฬ. ให้สร้างมณฑปประดับด้วยแก้ว ในที่ท่ามกลางแห่ง
ศาลาราย. ให้ตั้งธรรมาสน์ไว้. เท้าธรรมาสน์นั้นได้สำเร็จด้วยทองคำสีสุก
เป็นแท่ง แม่แคร่ 4 อันก็เหมือนกัน. แต่ให้กระทำแพะทองคำ 4 ตัว
ตั้งไว้ในภายใต้แห่งเท้าทั้ง 4 แห่งอาสนะ. ให้กระทำแพะทองคำ 2 ตัว
ตั้งไว้ภายใต้ตั่งสำหรับรองเท้า. ให้กระทำแพะทองคำ 6 ตัว ตั้งแวดล้อม
มณฑป: ให้ถักธรรมาสน์ด้วยเชือกเส้นเล็กสำเร็จด้วยด้ายก่อนแล้ว จึงให้

ถักด้วยเชือกอันสำเร็จด้วยทองคำในท่ามกลาง แล้วให้ถักด้วยเชือกสำเร็จ
ด้วยแก้วมุกดาในเบื้องบน; พนักแห่งธรรมาสน์นั้น ได้สำเร็จด้วยไม้
จันทน์. ครั้นให้ศาลารายสำเร็จอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะกระทำการฉลองศาลา
จึงนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ 6 ล้าน 8 แสน ได้ถวายทานตลอด
4 เดือน. ในวันสุดท้ายได้ถวายไตรจีวร. บรรดาภิกษุเหล่านั้น จีวรมี
ค่าพันหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์แล้ว.
เขาทำบุญกรรม ในกาลแห่งพระวิปัสสีพุทธเจ้าอย่างนั้นแล้ว เคลื่อน
จากอัตภาพนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและในมนุษย์ทั้งหลาย ในภัทร-
กัปนี้ เกิดในสกุลเศรษฐีมีโภคะมากในกรุงพาราณสี ได้มีนามว่า พาราณสี-
เศรษฐี.

เศรษฐีประสบฉาตกภัย


วันหนึ่ง เศรษฐีไปสู่ที่บำรุงพระราชา พบปุโรหิต จึงกล่าวว่า
" ท่านอาจารย์ ท่านตรวจดูฤกษ์ยามหรือ ?"
ปุโรหิต. ขอรับ ผมตรวจดู , เราทั้งหลายจะมีการงานอะไรอื่น ?
เศรษฐี. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นไปในชนบทจักเป็นเช่นไร ?
ปุโรหิต. ภัยอย่างหนึ่ง จักมี.
เศรษฐี. ชื่อว่าภัยอะไร ?
ปุโรหิต. ฉาตกภัย1 ท่านเศรษฐี.
เศรษฐี. จักมี เมื่อไร ?
ปุโรหิต. จักมี โดยล่วงไป 3 ปี แต่ปีนี้.
เศรษฐี ฟังคำนั้นแล้วให้บุคคลทำกสิกรรมเป็นอันมาก รับ (ซื้อ)
1. ภัยคือความอดอยากหรือความหิว.