เมนู

ถึงที่สุดแล้วหรือ ?" จึงบอกเรื่องนั้นทั้งหมด จำเดิมแต่การเข้าจำพรรษา
ในถ้ำนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย, เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า " ผู้มีอายุ ท่าน
ถูกเทพดาว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ไม่โกรธหรือ ?" กล่าวว่า " ผมไม่โกรธ. "
ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระตถาคตว่า " พระเจ้าข้า
ภิกษุนี้ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล, แม้ถูกเทพดาว่ากล่าวคำชื่อนี้อยู่ ย่อม
กล่าวได้ว่า ' เราไม่โกรธ."

ลักษณะพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา


พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย บุตรของเราย่อมไม่โกรธเลย, เพราะขึ้นชื่อว่าความเกี่ยวข้อง
ด้วยคฤหัสถ์หรือด้วยบรรพชิตทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรานั่น, บุตร
ของเรานั่น ไม่เกี่ยวข้อง ปรารถนาน้อย สันโดษ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
21. อสํสฏฺฐํ คหฏฺเฐหิ อนาคาเรหิ จูภยํ
อโนกสารึ อปฺปิจฺฉํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" เราเรียกบุคคลผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยชน 2 จำพวก
คือคฤหัสถ์ 1 บรรพชิต 1 ผู้ไม่มีอาลัยเที่ยวไป ผู้
ปรารถนาน้อยนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสํสฏฺฐํ ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เกี่ยวข้อง
เพราะความไม่มีความเกี่ยวข้องด้วยการดู การฟัง การสนทนา การบริโภค
และด้วยกาย.