เมนู

ฉันใด; แม้กามทั้งสองอย่าง ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ในจิตของพระขีณาสพ
ฉันนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาใน
พราหมณวรรคนี้ว่า :-
18. วาริ โปกฺขรปตฺเตว อารคฺเคริว สาสโป
โย น ลิมฺปติ กาเมสุ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใด ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่
ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุผักกาด ไม่ตั้ง
อยู่บนปลายเหล็กแหลมฉะนั้น, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย น ลิปฺป1ติ เป็นต้น ความว่า
ผู้ใด ย่อมไม่ติดแม้ในกามทั้งสองอย่างในภายใน คือไม่ตั้งอยู่ในกามนั้น
อย่างนี้นั่นแล, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี จบ.
1. บาลีเป็น ลิมฺปติ.

19. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [282]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์
คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย ทุกฺขสฺส " เป็นต้น.

ทาสของพราหมณ์หนีไปบวช


ได้ยินว่า ทาสคนหนึ่งของพราหมณ์นั้น เมื่อสิกขาบทอันพระศาสดา
ยังไม่ทรงบัญญัติ หนีไปบวชบรรลุพระอรหัตแล้ว. พราหมณ์ค้นหาอยู่
ก็ไม่พบ ในวันหนึ่งพบท่านเข้าไปบิณฑบาตกับพระศาสดาที่ระหว่างประตู
ได้ยึดจีวรไว้อย่างมั่น. พระศาสดาเสด็จกลับ ตรัสถามว่า " นี่อะไรกัน ?
พราหมณ์."
พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ (ภิกษุนี้) เป็นทาสของ
ข้าพระองค์.
พระศาสดา. พราหมณ์ ภิกษุนั่น เป็นผู้มีภาระอันปลงแล้ว.
เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " เป็นผู้มีภาระอันปลงแล้ว," พราหมณ์
กำหนดได้ว่า " เป็นพระอรหันต์." เหตุนั้น เมื่อพราหมณ์กราบทูลแม้
อีกว่า " อย่างนั้นหรือ ? พระโคดมผู้เจริญ."
พระศาสดาตรัสว่า " ถูกแล้ว พราหมณ์ ภิกษุนั่นเป็นผู้มีภาระอัน
ปลงแล้ว " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
19. โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ อิเธว ขยมตฺตโน
ปนฺนภารํ วิสญฺญุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺรหฺมณํ.