เมนู

ฉันใด; แม้กามทั้งสองอย่าง ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ในจิตของพระขีณาสพ
ฉันนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาใน
พราหมณวรรคนี้ว่า :-
18. วาริ โปกฺขรปตฺเตว อารคฺเคริว สาสโป
โย น ลิมฺปติ กาเมสุ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใด ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่
ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุผักกาด ไม่ตั้ง
อยู่บนปลายเหล็กแหลมฉะนั้น, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย น ลิปฺป1ติ เป็นต้น ความว่า
ผู้ใด ย่อมไม่ติดแม้ในกามทั้งสองอย่างในภายใน คือไม่ตั้งอยู่ในกามนั้น
อย่างนี้นั่นแล, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี จบ.
1. บาลีเป็น ลิมฺปติ.