เมนู

18. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี [281]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุบล-
วรรณาเถรี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " วาริ โปกฺขรปตฺเตว " เป็นต้น.

มหาชนเข้าใจว่าพระขีณาสพยินดีกามสุข


เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้วแล ในอรรถกถาแห่งพระคาถาว่า
" มธุวา มญฺญตี พาโล1" เป็นต้น.
จริงอยู่ ในที่นั้นข้าพเจ้ากล่าวว่า " โดยสมัยอื่นอีก มหาชนสนทนา
กันในโรงธรรมว่า " ถึงพระขีณาสพทั้งหลาย ชะรอยจะยังเสพกาม, ทำไม
จักไม่เสพ ? เพราะท่านเหล่านั้น ไม่ใช่ไม้ผุ ไม่ใช่จอมปลวก ยังมีเนื้อ
และสรีระสดชื่นอยู่เทียว; เหตุนั้น แม้พระขีณาสพเหล่านั้น จึงยังยินดี
กามสุขมีอยู่."

พระขีณาสพไม่ติดอยู่ในกาม


พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย
กถาชื่อนี้" จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดี
ซึ่งกามสุข ไม่เสพกาม, เหมือนอย่างว่าหยาดน้ำที่ตกลงบนใบบัว ย่อมไม่
ติด ไม่ค้างอยู่, ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียวฉันใด; อนึ่ง เหมือนเมล็ดพันธุ์
ผักกาด ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม, ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียว
1. มาใน ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 2 พาลวรรค เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี.

ฉันใด; แม้กามทั้งสองอย่าง ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ในจิตของพระขีณาสพ
ฉันนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาใน
พราหมณวรรคนี้ว่า :-
18. วาริ โปกฺขรปตฺเตว อารคฺเคริว สาสโป
โย น ลิมฺปติ กาเมสุ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใด ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่
ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุผักกาด ไม่ตั้ง
อยู่บนปลายเหล็กแหลมฉะนั้น, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย น ลิปฺป1ติ เป็นต้น ความว่า
ผู้ใด ย่อมไม่ติดแม้ในกามทั้งสองอย่างในภายใน คือไม่ตั้งอยู่ในกามนั้น
อย่างนี้นั่นแล, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี จบ.
1. บาลีเป็น ลิมฺปติ.