เมนู

14. เรื่องอุคคเสน [277]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภเศรษฐีบุตร
ชื่ออุคคเสน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพสญฺโญช1นํ " เป็นต้น.

พระอรหันต์ย่อมไม่กลัว


เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในอรรถแห่งพระคาถาว่า " มุญฺจ
ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต "
เป็นต้นนั้นแล.
ก็ในกาลนั้น พระศาสดา เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " พระ-
เจ้าข้า พระอุคคเสนย่อมกล่าวว่า ' เราไม่กลัว ' ชะรอยว่าจะพยากรณ์
พระอรหัตผลด้วยคำไม่จริง," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เช่นกับ
บุตรของเรา มีสังโยชน์อันตัดได้แล้ว ย่อมไม่กลัวเลย " ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
14. สพฺพสํโยชนํ เฉตฺวา โย เว น ปริตสฺสติ
สงฺคาติคํ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใดแล ตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้ว ย่อมไม่
สะดุ้ง, เราเรียกผู้นั้น ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องได้
ผู้หลุดพ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพสญฺโญชนํ ได้แก่ สังโยชน์ 10
อย่าง.
บทว่า น ปริตสฺสติ ได้แก่ ย่อมไม่กลัวเพราะตัณหา.
บทว่า ตมหํ ตัดบทเป็น ตํ อหํ ความว่า เราเรียกผู้นั้น ซึ่งชื่อว่า
1. บาลี เป็น สพฺพสํโยชนํ.

ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง เพราะความที่กิเลสเครื่องข้องทั้งหลาย มีราคะ
เป็นต้น อันล่วงได้แล้ว ผู้ชื่อว่าพรากได้แล้ว เพราะไม่มีแห่งโยคะแม้ 4
ว่า เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องอุคคเสน จบ.

15. เรื่องพราหมณ์ 2 คน [278]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์
2 คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เฉตฺวา นทฺธึ " เป็นต้น.

พราหมณ์สองคนเอาโคแข่งขันกัน


ได้ยินว่า ในพราหมณ์สองคนนั้น พราหมณ์คนหนึ่งมีโคชื่อว่า
จูฬโรหิต, คนหนึ่งมีโคชื่อว่ามหาโรหิต.
ในวันหนึ่ง เขาทั้งสองเถียงกันว่า " โคของท่านแข็งแรง หรือโค
ของเราแข็งแรง" ดังนี้แล้ว ต่างกล่าวกันว่า " ประโยชน์อะไรของเรา
ทั้งหลาย ด้วยการเถียงกัน, เราแข่งกันแล้ว จักรู้ " ยังเกวียนให้เต็มด้วย
ทรายที่ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี แล้วเทียมโค.
ในขณะนั้น แม้ภิกษุทั้งหลายก็ได้ไปแล้วในที่นั้น เพื่อสรงน้ำ.
พราหมณ์ทั้งหลายแข่งโคกันแล้ว. เกวียนได้หยุดนิ่งอยู่, ส่วนชะเนาะและ
เชือกทั้งหลายขาดแล้ว.
ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ไปยังวิหาร กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ-
ศาสดา.

ควรตัดชะเนาะและเชือกภายใน


พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ชะเนาะและเชือกนั่นเป็นแต่
ภายนอก, คนใดคนหนึ่งก็ตัดชะเนาะและเชือกเหล่านั้นได้ทั้งนั้น, ฝ่าย
ภิกษุตัดชะเนาะคือความโกรธ และเชือกคือตัณหาอันเป็นไปภายในควร"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-